พฤติกรรมการใช้สารสนเทศในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุพัฒนา อยู่โต๊ะ
สุรพล ซาเสน
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารสนเทศในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น 2) ศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แหล่งประเภทสื่อสารสนเทศด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น และ 4) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่มีอายุ15-19 ปี ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น พบว่า วัยรุ่นเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามเพื่อบำรุงผิวพรรณให้สดใสสวยงาม โดยมีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม 2 ครั้งต่อเดือน ส่วนใหญ่มีการสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต/ออนไลน์ แหล่งสารสนเทศที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่นส่วนใหญ่ คือ เฟสบุ๊ค และได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากอินเตอร์เน็ต 2) การใช้สารสนเทศด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม พบว่า มีการใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สารสนเทศด้านการส่งเสริมการตลาด รองลงมา คือ สารสนเทศด้านราคา และสารสนเทศด้านผลิตภัณฑ์ 3) ปัญหาในการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามของวัยรุ่น พบว่า ตัวหนังสือหรืออักษรเล็ก ไม่ชัดเจน วิธีใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามไม่ชัดเจน และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามไม่มีการแจ้ง วัน – เดือน-ปี ที่ผลิตและหมดอายุ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุรพล ซาเสน , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

ประสิทธิ์ กุลบุญญา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

กิจติวัฒน์ รัตนมณี. (2558), ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้

บริการคลินิกเสริมความงามของลูกค้าเพศชายในอำเภอเมือง จังหวังหวัดสงขลา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นาถฤดี นพพันธ์ .(2561), พฤติกรรมการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม

ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิตติยา ศรีคง. (2558),พฤติกรรมการเปิดรับ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์

ออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัย มสด, 10(3), 181-192,2558.

ดวงใจ ธรรมนิภานนท์. (2557), กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ความงามผ่านช่องทางการค้าแบบ

ดิจิทัล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2555), ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

เบญจพร วุฒิพันธ์. (2540), การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลโครงการรณรงค์

“อ่านฉลากก่อนซื้อ” ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิเทพ บุตราช. (ออนไลน์) . (2553),ความหมายของคำว่า Social network สังคมออนไลน์.

(สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563) จาก https://sites.google.com/site/socialnetworksangkhmxxnlin05.