ระบบข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์และความพึงพอใจของพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ยลดา สื่อวงศ์สุวรรณ
อุทัย อร่ามเรือง
ภาวิณี อร่ามเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระบบข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถามจำนวน 32 ข้อ แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามก่อนนำไปรวบรวมความเห็นของผู้ปฏิบัติงานบริหารงานบุคคล จำนวน 397 คนมาวิเคราะห์ผล ด้วยสถิติวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยแบบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน รวมถึงสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Pearson Correlation โดยมีผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นระบบข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนระดับความพึงพอใจที่มีต่อระบบข้อมูลทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้ผลกระทบของระบบข้อมูลทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อุทัย อร่ามเรือง , มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

ภาวิณี อร่ามเรือง , มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

References

ทองคำ ศรีเนตร และภคิน ไชยช่วย (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 31-39

บุญศรี พรหมมาพันธ์ และคณะ . (2557) การพัฒนาเครื่องชี้วัดสำหรับการประเมินผลการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. รายงานการวิจัย.: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาวิน ชินะโชต และคณะ. (2562). ระบบสารสนเทศในงานด้านทรัพยากรมนุษย์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 180-191.

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วันที่ 12 กันยายน 2563, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

วาสนา ศรีอัครลาภ (2559). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในการบริหารงานบริการของภาครัฐ. นครปฐม : สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,

สุธีรา ใจดี. (2551). บทบาทสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริรวี ราศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลกรณีศึกษา : องค์การสวนสัตว์. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการสาธารณะ). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Arifin, M. A., & Tajudeen, F. P. (2020). Impact of human resources information systems in the military environment. Asia Pacific Management Review 25,198–206.

Cronin, J. J. & Taylor, S. A. (1992). Measuring service extension. Journal of Marketing, 56(3), 55-68.

Intra, G., Alteri, A., Corti, L, Rabellotti, E., Papaleo, E., Restelli, L., ... Viganò, P. (2016). Application of failure mode and effect analysis in an assisted reproduction technology laboratory. Reproductive Biomedicine Online, 33(2), 132-139.

Oliver, R.L. (2014). Satisfaction: A Behavioral Perspective on the Consumer,

Routledge, London and New York, NY.

Shahibi, M. S., Saidin, A., & Izhar, T. A. T. (2016). Evaluating user satisfaction on human resource management information system (HRMIS): A case of Kuala Lumpur city Hall, Malaysia. International Journal of Academic in Business and Social Sciences, 6(10), 95-116.

Van Ryzin, G.G. (2005)," Testing the expectancy disconfirmation model of citizen

satisfaction with local government”, Journal of Public Administration Research and Theory, Vol. 16 No. 4, pp. 599-611