การประยุกต์หลักธรรมในโครงการ วัด ประชารัฐ สร้างสุข วัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของของวัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักธรรมในโครงการ วัด ประชารัฐ สร้างสุข วัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ผลการวิจัย พบว่า สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของของวัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เป็นโครงการนี้เป็นนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์ มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนงาน สถานที่เหมาะแก่การจัดกิจกรรมของชุมชน วัดมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม สงบ พระสงฆ์เป็นแกนนำในการพัฒนาจิตใจประชาชน มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อ ขับเคลื่อน เป็นต้น การประยุกต์หลักธรรมในโครงการ วัด ประชารัฐ สร้างสุข วัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เป็นการพัฒนาการเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม การประยุกต์หลักพุทธธรรม วิถีชีวิตของชุมชนวัดท่าลี่ศรีสะอาด ตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อย่างมีนัยและ สัดส่วน ที่สำคัญอย่างลงตัวเพื่อก่อให้เกิดแนวคิด และหลักการจัดการการพัฒนาที่เหมาะสม สอดคล้อง เฉพาะท้องถิ่นและชุมชนนั้นๆ โดยประสานรับกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งหยั่ง ยืน บุคคลที่รอบรู้ ความคิดเป็นระบบ รูปแบบความคิด การเรียนรู้เป็นทีม ร่วมกันกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ระยะยาว ที่มีการประยุกต์หลักธรรมในโครงการทุกๆ กิจกรรมเพื่อที่จะเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นอย่างมีเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย (1) การวางแผน การวางแผนพัฒนา สาธารณูปการของวัดตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านสาธารณูปการของ มหาเถรสมาคม (2) การลงมือปฏิบัติ คือ การทำความสะอาดครั้งใหญ่ และการบริหารจัดการการพัฒนาลงมือปฏิบัติ 9 พื้นที่ (3) การตรวจสอบ ตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข การประเมินผลการปฏิบัติตามแผน และ (4) การปรับปรุงแก้ไข โดยประเมินผลตามแผนที่กำหนด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติได้อย่างไร. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. (2545). คู่มือการพัฒนาวัด อุทยานการศึกษาในวัด
ลานวัด ลานใจ ลานกีฬา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา.
พระครูวัชรสุวรรณาทร ธมฺมโชโต (ลูกชุบ เกตุเขียว). (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรม
เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในเขตปกครอง
คณะสงฆ์ภาค 15. รายงานการวิจัย, คณะพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ
จัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ (นาเมือง). (2558). การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่าง
ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1) : 198-209.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์
มูลนิธิโกมลคีมทอง.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2010). แนวคิดทฤษฎีกิจกรรม 5 ส ให้สัมฤทธิ์ผลนั้นมาจากคน.
ฟอร์ควอลิตี้, 17(158) : 96.