สมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1

Main Article Content

มลฤดี สิทธิพร
สุรางคนา มัณยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 342 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 90.64 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีคาอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .50-.68 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ และ 2) ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา มีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ (1) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรให้ความสำคัญในนำระบบวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (2) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นฐานในการขับเคลื่อนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน (3) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะนักเรียน (4) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้นวัตกรรม เพื่อการเรียนการสอน และ (5) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีความเชื่อว่าจริยธรรมเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการศึกษา


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุรางคนา มัณยานนท์, มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). พริกหวานกราฟฟิค.

กมลทิพย์ ชูประเสริฐ, ไมตรี จันทรา และ สุภาพ เต็มรัตน์. (2562). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 820-836.

จีรนาถ ภูริเศวตกำจร และ พระมหาวุฑฒ์ สุวุฑฺฒิโก (บุญเสนอ). (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคม มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, 4(2), 34-46.

จีรพรณัฎฐ์ ภุมรินทร์ และ สายสุดา เตียเจริญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(1), 207-223.

เจนจิรา ยะตั๋น. (ม.ป.ป.). การบริหารการจัดการเรียนรู้. บ้านคุณครูเจนจิรา. https://sites.google.com/a/crru.ac.th/ban-khunkhru-cen-ci-ra/bth-thi-9-kar-brihar-cadkar-reiyn-ru

ธชวรรณ สุทธาธาร. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาของ

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. เอ็กซเปอร์เน็ท.

นงลักษณ์ ใจฉลาด, สมหมาย อ่ำดอนกลอย, อดุลย์ วังศรีคูณ และ ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2558). การศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุพิบูล, 2(1), 1-15.

มุทิตา ไหลหรั่ง. (2557). สมรรถนะด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหาร กรณีศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิธาชัย ศรีอุดม, ปัญญา สังขวดี, วิทยา จันทร์ศิลา และ สำราญ มีแจ้ง. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 74-81.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. (2565). รายงานผลการดำเนินงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.

อาทิตย์มณี แย้มเกษร. (2564). การบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than Intelligence. American Psychologist.