ปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2564 ศึกษาเฉพาะเรื่องดอกเบี้ย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะปัญหาการคิดอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2564 จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2564 บทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่นั้นยังมีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคิดคำนวณอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วยกันหลากหลายประเด็น ดังนั้น หากภาครัฐประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกหนี้ที่ต้องรับภาระจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ภาครัฐควรเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ที่มี ในมาตรา 7 มาตรา 224 และมาตรา 224/1 ทั้งนี้ โดยมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองลูกหนี้ที่ต้องรับภาระจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป จะเห็นได้ว่ายังไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากแม้จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและกำหนดวิธีการในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่ภายใต้หลักเสรีภาพในการทำสัญญาหรือหลักอิสระทางแพ่ง ทำให้คู่สัญญาสามารถใช้การแสดงเจตนาตกลงอัตราดอกเบี้ยให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้ และข้อตกลงที่แตกต่างนั้นก็มีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 ดังนั้น หากภาครัฐประสงค์ที่จะคุ้มครองลูกหนี้ที่ต้องรับภาระจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ภาครัฐควรเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยในอัตราต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะในช่วงที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจในยุคสถานการณ์โควิด 19
Article Details
References
กมล สนธิเกษตริน. (2520), ยืมและฝากทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์,
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2531), ยืม ฝากทรัพย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.
พิชยามนต์ จารีกสุนทรสกุ. (2564),“ดอกเบี้ยเงินกู้ ถึงเวลาที่ต้องแก้.” วารสารนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 50, ฉ. 3 : 418-449.
มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2519), ยืม ฝากทรัพย์เก็บของในคลังสินค้าประนีประนอมยอมความ
การพนันขันต่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2518. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานศาลยุติธรรม, “หนังสือด่วนที่สุด ที่ ศย 016/ว 411 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับพระราชกำหนด
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564,” 20 เมษายน 2564.
สุพร อิศรเสนา. (2527), พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: นิติสยาม.
Nicholas S. Wilson. (1965). “Freedom of Contract and Adhesion Contract” .
International and Comparative Law Quarterly 15, p.180