คุณภาพบริการของร้านอาหารที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปริมาณนี้มุ่งศึกษาความพึงพอใจคุณบริการของร้านอาหารของลูกค้าที่รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างความพึงพอใจของลูกค้าในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการสร้างและพัฒนาคุณภาพ มาจากการทบทวนวรรณกรรม แล้วนำเอาตัวแปรวัดที่วิเคราะห์ได้ไปสร้างแบบเป็นข้อคำถามจำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย t-test F-test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation) ผลวิจัยปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยตัวแปรความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการมีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.76 (SD=.58) คุณภาพบริการด้านบริการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.68 (SD=.58) รองลงมา คือ คุณภาพบริการด้านคุณภาพอาหารได้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 (SD=.60) ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามเพศ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพบริการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าทดสอบ t= 4.03 (Sig= .21) นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุ และ รายได้ต่อเดือนมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลทดสอบ t = 1.960,2.637 (Sig=.122, .396) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษาและอาชีพมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันโดยมีผลทดสอบ t = 4.258,2.637 (Sig=.02,.003)ตามลำดับ
Article Details
References
วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). มาตรฐานงานวิจัยเชิงปริมาณและการพัฒนา (The Standard of Quantitative Research and Development). มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนยีอีสเทิร์น
Chow, L.H., Lau, V.P., Lo, T.Y., Sha, Z. & Yun, H. (2007). “Service quality in restaurant operations in China: decision and experiential-oriented perspectives”, International Journal of Hospitality Management, 26(3), 698-710.
Han, H. &Ryu, K. (2009). “The roles of the physical environment, price perception, and customer satisfaction in determining customer loyalty in the restaurant industry”, Journal of Hospitality and Tourism Research, 33(4), 487-510.
Hau-siu, C. (2007). Service Quality in restaurant operations in China: Decision and experiential-oriented perspectives, Hospitality Management, 26, 698-710.
Ladhari R., Morales M. &Lakhai S. (2005). “Service quality, emotion and satisfaction in restaurant setting”, Proceedings of the Annual Conference of the Administrative Sciences Association of Canada, Marketing Division Toronto, Ontario May 28-31, 2005.
Oliver, R.L. (1997). Satisfaction: An Behavioral Perspective on the Customer, New York: McGraw-Hill.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L. (1988) SERVQUAL: a multiple item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of Retailing 64, Spring, 12-37.
Yunus, N.K.Y., Razak, M.Z., &Ilias, A. (2013). Expectation towards McDonald’s Malaysia: A Study on Service Quality. International Journal of Independent Research and Studies-IJIRS, 2(3), 119-129.
Zeithaml, V. &Bitner, M.J. (2003). Service Marketing: Integrating customer focus across the firm. 3rd edition. New York: McGraw-Hill.