การใช้หลักพุทธธรรมและหลักกฎหมายในการจัดการปัญหาชุมชน พื้นที่ตำบลกระโสบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระสิริชัย ธมฺมจาโร (สายสิงห์)
พระสังวาน เขมปญฺโญ (สายเนตร)
สมนึก จันทร์โสดา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง“การใช้หลักพุทธธรรมและหลักกฎหมายในการจัดการปัญหาชุมชนพื้นที่ตำบลกระโสบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี”มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการจัดการปัญหาชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาหลักกฎหมายและมาตรการทางสังคมในการจัดการปัญหาชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และพระสงฆ์ รวมจำนวน 18 รูป/คน  โดยใช้การสัมภาษณ์ในเชิงลึก (Interviews)  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory  Observation)  เป็นเครื่องมือในการศึกษา แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษาพบว่า หลักพุทธธรรมและหลักกฎหมายที่ใช้ในการจัดการปัญหาชุมชน แยกตามลำดับความสำคัญของปัญหาได้ ดังนี้ 1) ปัญหาสุราและยาเสพติด  หลักพุทธธรรม ได้แก่ หลักสติ ศีล 5 และหลักอบายมุข 6 หลักกฎหมายและมาตรการทางสังคม ได้แก่ ตักเตือนกรณีความผิดเกี่ยวกับสุรา หากกระทำผิดซ้ำใช้มาตรการทางกฎหมาย มีกติกาชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด มีการบังคับใช้กฎหมาย มีกิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน “บวร” กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา กิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด 2) ปัญหาการทะเลาะวิวาท หลักพุทธธรรม ได้แก่ การครองสติ  และหลักกัลยาณมิตรธรรม ๗ หลักกฎหมายและมาตรการทางสังคม ได้แก่ การตักเตือนป้องปรามและไกล่เกลี่ย หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตจะนำกฎหมายมาบังคับใช้ มีกิจกรรมปฏิบัติธรรม กิจกรรมอาสาพุทธบุตร กิจกรรมทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรม กิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ 3) ปัญหาการเล่นการพนัน หลักพุทธธรรม ได้แก่ การครองสติด้วยความไม่ประมาท ธรรมโลกบาล และ หลักอบายมุข 6 หลักกฎหมายและมาตรการทางสังคม ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน หากความผิดร้ายแรงจะดำเนินคดีตามกฎหมาย หมู่บ้านรักษาศีล 5 จัดอบรมรณรงค์ให้รู้เท่าทันโทษของการพนัน จัดกิจกรรมอบรมกฎหมายที่ควรรู้ 4) ปัญหาการแข่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในที่สาธารณะ หลักพุทธธรรม ได้แก่ ครองสติด้วยความไม่ประมาท ศีล 5และหลักอบายมุข ๖ หลักกฎหมายและมาตรการทางสังคม ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน ความผิดร้ายแรงดำเนินการตามกฎหมาย ให้ผู้ปกครองร่วมหารือแก้ไขปัญหา ให้ความรู้ด้านกฎหมายการจราจรแก่เด็กและเยาวชน เผยแพร่ความสูญเสียจากอุบัติเหตุการแข่งขับรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะ กิจกรรมกลุ่มพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชน ยกย่องชมเชยเยาวชนในการทำความดี กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ กิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธภาพครอบครัว


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระสังวาน เขมปญฺโญ (สายเนตร), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สมนึก จันทร์โสดา , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2565). โครงการศึกษามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการ

ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กแว้น: ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่การกระทำผิดซ้ำซาก. ฐานข้อมูลงานวิจัยสำนักงานกิจการยุติธรรม: หน้า ซ-ฏ.

บันทึกการสนทนากลุ่ม. (2565). เรื่องการใช้หลักพุทธธรรมและหลักกฎหมายในการจัดการ

ปัญหาชุมชนพื้นที่ตำบลกระโสบ. ดำเนินการ ณ วัดดอนนกชุม ตำบลกระโสบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565.

เบญจมาภรณ์ รุ่งสาง. การจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในวัยรุ่น. วารสารวิชาการ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2563. หน้า 94-104.

พรรณรัตน์ เกรียงวัฒนา. (2565). เด็กแว้น : จากปัญหาสังคมสู่การเป็นพลเมืองที่ดี. ห้องสมุดอีเล็ก

โทรนิกส์, ศาลรัฐธรรมนูญ. http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/

ภัทราวรรณ รัตนเกษตร. (2560). การป้องกันการกระทำความผิดอาญาของเด็กและ

เยาวชน: เกณฑ์อายุในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560). หน้า 55-79

สมจิต ยาใจ และคณะ. (2564). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วน

ร่วมของชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564. หน้า 224-236.

อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร และ สุรศักดิ์ จันทา. (2564). แนวทางการจัดการปัญหาการพนันใน

บุญงานศพโดยผู้สูงอายุและชุมชน พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสังคมศาสตร์และ

มานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2564). หน้า 13-19