ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรม ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

พนมพร วิภาดา
ลินจง โพชารี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยด้านบริหารภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่สัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรมในจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นนำผลที่ได้มาเสนอแนะแนวทางในการจัดการการคงอยู่เพื่อรักษาพนักงานในโรงแรม ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การแจกแบบสอบถามพนักงานโรงแรม จำนวน 225 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงแรม จำนวน 10 คน โดยสถิติที่ใช้เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ปัจจัยด้านการบริหารภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรมในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการประมวลผลทางสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ กรณีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยการทดสอบค่า F ผลการวิจัย พบว่า พนักงานโรงแรมในจังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งงานในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพนักงานส่วนหลัง มีอายุงานในองค์กรปัจจุบันน้อยกว่า 5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท และพนักงานโรงแรมเกือบทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์  ปัจจัยด้านการบริหารภายในองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรม พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารภายในองค์กร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านการบริหารองค์กร ส่วนปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของพนักงานโรงแรม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปรียบเทียบรายคู่ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ทั้งปัจจัยด้านการบริหารภายในองค์กรและกับปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อการคงอยู่ของพนักงานแตกต่างกันทั้งรายคู่และรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ องค์กรต้องสร้างความภาคภูมิใจให้พนักงานในการทำงานในหน่วยงาน การได้แสดงศักยภาพในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านปฏิสัมพันธ์ภายในองค์กร ควรส่งเสริมให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายขององค์กร ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รวมไปถึงการทำงานที่สามารถจัดการ การทำงานและชีวิตครอบครัวได้ ด้านการบริหารองค์กร ควรเปิดโอกาสให้พนักงานภายในองค์กรได้มีโอกาสในการโยกย้ายสายงานหรือทราบถึงตำแหน่งงานว่างที่เกิดขึ้นในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ควรส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการมอบหมายงานใหม่ๆ ให้กับพนักงาน และด้านการบริหารองค์กร ควรจัดทำแผนการการทำงานให้กับพนักงาน การกำหนดคุณลักษณะงานที่ชัดเจน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ลินจง โพชารี , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Mahasarakham University

References

ฉัฐวัฒน์ ลิมป์สุรพงษ์. (2564). ความสามารถในการปรับตัวของพนักงาน ที่ส่งผลต่อการเพิ่ม

ขีดความสามารถของพนักงาน ประสิทธิภาพของงาน ประสิทธิผลของงาน และความ

จงรักภักดีต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด. วารสาร

การบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(3), 64-83.

ณัฎฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2561). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 261-266.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). ผู้นำที่เรียกว่า Digital Leader ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. HR Society

Magazine, 15, 172, 20-23.

ธนิตพงศ์ ไตรพัฒน์พัชร. (2552). การศึกษาผลกระทบจากปัจจัยสภาพแวดล้อมและปัจจัย

การแข่งขันในอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของผู้ประกอบการ

ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 3(1), 86-94.

ธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์. (2564). การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคประเทศ

ไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10, 228-243.

ธีระวุฒิ ตรีประสิทธิ์ชัย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรใน

อุตสาหกรรมการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยาพร ห้องแซง. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพัน์ในองค์กรของ

พนักงานสาขาธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีซานา อับดุลเลาะ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัย

นราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 227-246.

สำนักงานเลขาธิการ. (2562). นายกรัฐมนตรีประชุมหารือร่วมกับ สภาหอการค้าแห่ง

ประเทศไทย ปลดล็อกปัญหาด้านการท่องเที่ยว เร่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย

เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2562. จาก https://spm.

thaigov.go.th/CRTPRS/spm-sp-layout6.asp?i=71111%2E5222370211

อภิวัชร ฉายอรุณ. (2564). ปัจจัยพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกและปัจจัยแรงจูงใจในการ

ทำงานที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต.

วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย

รังสิต.

Kossivi, B. et. al. (2014). The Factor of Turnover Intention in Hotel Industry. International Journal of Recent Research and Applied Studies, 21(1),

-38.