แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

ปรียาภรณ์ หนองบัว
ประภาพร บุญรอด
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 และ 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ครูที่ปฏิบัติทำหน้าที่ด้านการสอนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) และขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan


ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน และ ครูปฐมวัย จำนวน211 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีองค์ประกอบของจำนวน 5 องค์ประกอบ 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย เรียงตามความต้องการจำเป็นลำดับแรกไปหาลำดับสุดท้าย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) ด้านการพัฒนาตนเอง และ 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยมีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน แนวทาง คือ กำหนดหน้าที่ให้บุคลากร/ผู้รับผิดชอบดูแล ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดูแลชั้นเรียน การกำหนดกติกาของห้องเรียน โดยการสร้างสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียน 2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แนวทาง คือ ครูปฐมวัยควรตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกิจกรรมที่เน้น Active Learning 3) ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ แนวทาง คือ ครูปฐมวัยควรให้ความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำมาปรับปรุงการจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 4) ด้านการพัฒนาตนเอง แนวทาง คือ ร่วมประชุม ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู แนวทาง คือ ปฏิบัติตนตามหลักการครองตน ครองคน ครองงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประภาพร บุญรอด, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

ทรงเดช สอนใจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ต้นติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เบรน-เบสบุ๊คส์.

ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพ

ของครูปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝายวารี ประภาสะวัต. (2555). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถของ

ผู้ดูแลเด็กด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะ ครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf. สืบค้น 20 ตุลาคม 2564