การศึกษาความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 3) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำแนกตามสถานะเพศ อายุราชการ และขนาดสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์องค์ประกอบของความผูกพันของครูในโรงเรียน โดยการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันความผูกพันของครูในโรงเรียน แล้วนำมาสร้างแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครู 1182 คน ระยะที่ 3 เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ t-test, F-test แล้วนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ได้ 3 ด้าน 11 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านที่ 1 ความต้องการขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ความคาดหวัง สภาพแวดล้อม ผลตอบแทน ด้านที่ 2 สัมพันธภาพ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ เพื่อนร่วมงาน การสื่อสารในองค์กร การมีส่วนร่วม ด้านที่ 3 ความก้าวหน้า ประกอบด้วย ความรับผิดชอบ ความศรัทธาต่อวิชาชีพ การเรียนรู้พัฒนา และโอกาสในตำแหน่ง 2) สภาพปัจจุบันความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.48 , S.D.=0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพ (=4.60, S.D.=0.32) รองลงมาคือด้านความก้าวหน้า ( =4.48 , S.D.=0.28) และ ด้านความต้องการพื้นฐาน ( =4.35, S.D.=0.37) ตามลำดับ 3) เปรียบเทียบความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 1.) จำแนกตามสถานะเพศ พบว่าค่าเฉลี่ยระหว่างเพศชาย และเพศหญิง มีความใกล้เคียงกัน 2.) จำแนกตามอายุราชการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาต่ำกว่า 5 ปี และตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป พบว่าแตกต่างกัน 3.) จำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่าแตกต่างกัน
Article Details
References
กรกฏ พลพานิช. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การของพนักงานบังคับบัญชาและพนักงานวิชาชีพการตลาด บริษัท ปูนซีเมนไทต์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
จิตติชัย ยัคลา. (2556). ความความผูกพันของข้าราชการครูต่อโรงเรียนในกลุ่มอำเภอ
หนองบัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา
บุญชม ศรี สะอาด. (2535). การอ้างอิงประชากรเมืองใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม
บุษบา มาพบพันธ์. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การ. ศึกษากรณีบริษัทยูโนแคลไทแลนด์จำกัด. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัฐธิการ ซุยซวง. (2556). ความผูกพันของข้าราชการครูต่อโรงเรียนในอำเภอวังสมบูรณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา
วนิดา ทองเกลี้ยง. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูอัตราจ้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา
สัมฤทธิ์ ผิวบัวดำ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
Cheng. (1990). An investigation of the relationship of organizational structure, leadership and social norms. Dissertation Abstracts International. 50(11): 3424-A
Herzberg. (1976). Dimensions of organizational behavior. New York: Macmillan