แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

ธีระศักดิ์ สินชัย
ทรงเดช สอนใจ
วสันต์ชัย กากแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 495 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ใช้เทคนิคการสุ่มของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ แบบยกร่างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัยปรากฏผล คือ 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 คือ (1) องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ มี 7 องค์ประกอบ (2) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) สภาพที่พึงประสงค์แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด2) ศึกษาการพัฒนาแนวทางสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า มี 7 องค์ประกอบ 35 สมรรถนะ 41 แนวทาง 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ 7 องค์ประกอบ 35 สมรรถนะ และ 41 แนวทางการพัฒนาโดยรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ทรงเดช สอนใจ , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

วสันต์ชัย กากแก้ว, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สํานักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : กระทรงศึกษาธิการ.

จรัญ น่วมมะโน. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการ

จัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดลวรรณ พวงวิภาต. (2562). องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญญลักษณ์ เวชกามา. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษของ

โรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำฝน ชื่นชม. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการ เรียนรู้ใน

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2564). “การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?.”

แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19- crisis-

reopening-school-after-lockdown/. สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 ตุลาคม 2564.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2543). การพัฒนาครูเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารวิชาการ.

ภราดร สุขพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุค

ปัจจุบัน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ มูลสระคู. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณนิภา วงศ์สวาสดิ์. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการ

ชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิริกร ชาลีกัน. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโรงเรียน

ประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย :,มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สำนักงาน ก.ค.ศ. (2560). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. สำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กลุ่มนโยบายและแผน, สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Nurahmah. (2020). Teachers’ Pedagogic Competence in Teaching English at SMPN 1

Lambu. Thesis. English Education Department Faculty of Teacher Training

and Education Muhammadiyah University of Makassar.