การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดในโรงเรียนบ้านนาหินโหง่นนาดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดในโรงเรียนบ้านนาหินโหง่นนาดง อำเภอนาตาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPIEST Model แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินโครงการ มีการเก็บข้อมูล 2 ขั้นตอน 1) ประเมินความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และ 2) สัมภาษณ์คณะกรรมการโครงการ จำนวน 12 คน ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินการ โดยสอบถามคณะกรรมการดำเนินโครงการ และระยะที่ 3 การประเมินผล หลังการดำเนินงานโครงการสิ้นสุด ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา 9 คน นักเรียน 49 คน ผู้ปกครองนักเรียน 49 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ครูตำรวจ 5 นาย ครูพระ 5 รูป ผู้แทน อบต. 5 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน รวมทั้งสิ้น 136 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม 6 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน 2 ฉบับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัตเจตคติ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ประเภทละ 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นทุกฉบับอยู่ระหว่าง 0.81-0.95 วิเคราะห์หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบันของโครงการฯ ทั้ง 7 ด้าน ในภาพรวม มีความคิดเห็นระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของโครงการฯ โดยรวมมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด และผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นทั้ง 7 ด้าน เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (2) ด้านความยั่งยืน (3) ด้านประสิทธิผล (4) ด้านประบวนการ (5) ด้านผลกระทบ (6) ด้านปัจจัยนำเข้า (7) ด้านบริบท 2) ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินหลังการดำเนินโครงการฯ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่อง “การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด” กลุ่มระดับชั้นประถมศึกษา 3-4 โดยรวมได้คะแนนเพิ่มขึ้น และกลุ่มระดับชั้นประถมศึกษา 5-6 โดยรวมได้คะแนนเพิ่มขึ้น 5) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการฯ 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการดำเนินโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด 2) นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2556-2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเทศบาลเมืองระนอง. (2557). วารสารเทศบาลเมืองระนอง, 10(1), 9-10.
จำรัส นองมาก. (2545). ปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซันพริ้นติ้ง.
เจริญ แฉกพิมาย และปนัดดา ศรีธนสาร. (2555). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของ นักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.
ธนวัน จันทศักดิ์. (2550). ผลการรณรงค์ป้องกันการใช้ยาเสพติดตามโครงการเพื่อนเตือนเพื่อนต่อความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนในโครงการเพื่อนเตือนเพื่อน ในสถานศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประวิต เอราวรรณ์ (2562). การออกแบบโครงการทางการศึกษาและการประเมินแบบเร่งด่วน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวพร แพทย์ขิม. (2556). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา ปีการศึกษา 2556 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมพิศ สุขวิฑูรย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน ประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สมหวัง พิริยานุวัฒน์ (2558). รวมบทความทางการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติด (2558). แผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
นรงค์ เห็นหลอด (2562). “การประเมินเชิงระบบโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด ขอโรงเรียนวัดสุทธิมงคล”. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 15(2): พ.ค.-ส.ค.
สยามรัฐออนไลน์ (2561). เดินหน้าวาระแห่งชาติสร้างพลังสกัดภัยยาเสพติด. จาก https://siamrath.co.th/n/39204. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2562.
สัมฤทธิ์ ผ่อง (2560) การประเมินเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านภูมินิยมพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.
อัญญรัตน์ นาเมือง (2560) การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดในโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง.
Stufflebeam, D.L & Shinkfield, A.J. (1985). Systemic Evaluation. Boston: kluwer-Nijhoff,
วาระแห่งชาติ (National Agenda) ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2558-2562