สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

สุปรียา ไตรยะขันธ์
รชฏ สุวรรณกูฏ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน และ 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 377 คน กำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41-.67 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบ จำแนกตามสถานภาพระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา และครูโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบตามขนาดโรงเรียนระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน 2) ปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ด้านความร่วมมือ นักเรียนมีความใส่ใจในการเรียนรู้น้อย แนวทางพัฒนา ครูควรใช้เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากร่วมกิจกรรม (2) ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน ครูมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ไม่เท่ากัน แนวทางพัฒนา ครูควรพัฒนาตนเองโดยการเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (3) ด้านความเป็นผู้นำคือภาวะความเป็นผู้นำของครู แนวทางพัฒนา สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นควรจัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะความเป็นผู้นำของครู

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รชฏ สุวรรณกูฏ, มหาวิทยาลัยนครพนม

Nakhon Phanom University

References

กฤษฎา บัวดก. (2564). สภาพการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษายุคดิจิทัลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(3) : 234-251

เกศกัญญา กดแก้ว. (2558). สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

นวรัตน์ รามสูต. (2564). “ครูไทยกับ AI ในสนามการศึกษาเพื่อสร้างคนสู่ศตวรรษที่ 21” ในพลัง

ครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล วันครู 16 มกราคม 2564. หน้า 79-82.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของ

โรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา

เอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

เรียงตะวัน สิทธิเชนทร์ และคณะ. (2563). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลตาม แนวทางวิถีชีวิตใหม่ของครู กศน. สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รายงานผลการวิจัย). สำนักงาน กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

วรลักษณ์ คำหว่าง. (2559). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลำปาง. 6(1) : 129-138.

วศิน ชูชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะ

การเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญและวรางคณา ทองนพคุณ. (2557). ทักษะแห่งสตวรรษที่ 21 ความท้า

ทายในอนาคต 21st Century Skills : The Challenges Ahead. คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยภูเก็ต.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและ

บุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21.

คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(1) : 1-15

อนันต์ เถื่อเนาว์. (2562). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. การประชุม

วิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2. หน้า 937-943.

อรอร ฤทธิ์กลาง. (2564).“พลังครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล” ในพลังครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทัน

ดิจิทัล วันครู 16 มกราคม 2564. หน้า 38-39.

สำนักงานมาตรฐานและพัฒนาการเรียนรู้. (2564). “พลังครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล” ในพลัง

ครูวิถีใหม่ ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล วันครู 16 มกราคม 2564. หน้า 34.