ศึกษาปัจจัยการเข้ามาอุปสมบทของชาวศรีลังกาในประเทศไทย : กรณีศึกษา ที่พักสงฆ์ไร่เอราวัณ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภูมิหลังและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการอุปสมบทในประเทศศรีลังกา 2) ศึกษาปัจจัยที่เป็นมูลเหตุต่อการเข้ามาอุปสมบทของชาวต่างชาติในประเทศไทย 3) ศึกษาปัจจัยการเข้ามาอุปสมบทของชาวศรีลังกาในประเทศไทย ที่พักสงฆ์ไร่เอราวัณ อำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสารประกอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 22 รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพภูมิหลังการอุปสมบทในประเทศศรีลังกา ชาวศรีลังกายังคงมีอุดมการณ์ทางสังคมและอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาในการอุปสมบทเพื่อมุ่งเป็นศาสนทายาทสืบต่อมรดกทางธรรมและการดำรงอยู่อย่างมั่นคงของพุทธศาสนา โดยไม่นิยมลาสิกขา ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการอุปสมบทในประเทศศรีลังกา พบว่า ภาระหน้าที่และค่านิยมสมัยใหม่ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต มีผลกระทบต่อการอุปสมบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับอุดมการณ์ทางสังคมและอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาดั้งเดิม 2) ปัจจัยที่เป็นมูลเหตุต่อการเข้ามาอุปสมบทของชาวต่างชาติในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่มีมูลเหตุมาจาก (1) ความศรัทธาและเชื่อในคำสอนว่าสามารถนำไปสู่ความดับทุกข์ได้ (2) ต้องการศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติตนในพระพุทธศาสนา 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามาอุปสมบทของชาวศรีลังกาในประเทศไทย ที่พักสงฆ์ไร่เอราวัณ อำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีมูลเหตุมาจาก (1) ความเกื้อกูลกันทางศาสนา (2) ความศรัทธาเชื่อมั่นในครูอาจารย์ (3) ได้ศึกษาหลักธรรมและปฏิบัติกัมมัฎฐาน (4) เป็นการบ่มเพาะปลูกฝังคุณธรรมความดีงาม และ (5) โอกาสลาสิกขา
Article Details
References
จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3. (พ.ศ. 2386 เลขที่ 150). (2466). พระนคร: หอพระสมุดวิชรญาณ.
ชินม์ธีร์ วงศ์ฟ้าเลื่อน. (2555). พระพุทธศาสนา 3. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร, รศ. (2557). “พระพุทธศาสนาและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในศรีลังกา”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระใบฎีกาอินถนอม มหาวีโร. (2548). "การศึกษาการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษากรณี ตำบลหัวขวาง". บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมนึก หอมรื่น, (2550). “สาเหตุและผลกระทบของการอุปสมบทระยะสั้นในสังคมไทยปัจจุบัน”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. (2524). "ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างไทยกับลังกาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เริง อรรถวิบูลย์. (2516). พิธีธรรมเนียมสงฆ์. กรุงเทพฯ: หอสมุดกลาง.
วิไล สุริยาแสงเพ็ชร์, ทพญ. (2561). "ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเสด็จออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2542). คู่มือการถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.