การส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านสมบูรณ์ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระอธิการอำพน จารุโภ
สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง“การส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ : กรณีศึกษา              ชุมชนบ้านสมบูรณ์ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักสัมมาชีพที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านสมบูรณ์ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อวิเคราะห์การส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านสมบูรณ์ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า การที่จะนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ สัมมาชีพ (สัมมาอาชีวะ) มาเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพนั้น ทำให้ประชาชน/ชุมชน ไม่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียดเบียนสังคม แม้ในทางตรงและทางอ้อม คือ เว้นจากการทุจริตทางกาย วาจา และใจ โดยปฏิบัติอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม ไม่หลงในอำนาจของกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและผู้อื่น เพราะศีลเป็นข้อปฏิบัติในเชิงปฏิเสธ เพื่อควบคุมความประพฤติทางกาย ทางวาจา ให้สงบเรียบร้อย อันจะเป็นรากฐานในการพัฒนาคุณธรรมในระดับที่สูงขึ้น การส่งเสริมสัมมาชีพ กรณีศึกษาในชุมชนบ้านสมบูรณ์ ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สามารถจัดเป็นต้นแบบได้ 3 ระดับ คือ 1) ต้นแบบระดับเริ่มต้น สามารถจัดกิจกรรมทำกินทำใช้ลดคนยากจนพึ่งตนเอง เป็นลักษณะของการ “พออยู่ พอกิน” เพื่อครัวเรือนอยู่ได้ 2) ต้นแบบระดับ“อยู่ดี กินดี”หมู่บ้านพร้อมเป็นต้นแบบของการขยายงาน ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหมู่บ้าน 3) ต้นแบบระดับ“มั่งมี ศรีสุข” มีลักษณะที่ใช้ความรู้ในการบริหารจัดการที่มีความเข้มแข็ง สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาการให้มีการจัดสวัสดิการสำหรับคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุทัศน์ ประทุมแก้ว , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

. (2549). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระชวลิต จิรวฑฺฒโน (ยั่งยืน). (2561). “กระบวนการส่งเสริมการรักษาศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธานี เขมธมฺโม (จำปา). (2550). “ศึกษาสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนา”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิมลพรรณ หาญชนะ. (2561). “แนวทางการส่งเสริมการรักษาศีล 5 : กรณีศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาสุชาติ ถนอมทรัพย์. (2556). “การปฏิบัติตนตามหลักศีล 5 ของครูโรงเรียนอนุบาลนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยทองสุข.

สุทัศน์ ประทุมแก้ว, ดร. (และคณะ). (2562). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมสัมมาชีพของหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดศรีสะเกษ”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม, ดร. และคณะ. (2563). “การศึกษาแนวคิดเรื่องสัมมาชีพและความรับผิดชอบ ในพระพุทธศาสนา”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(2). 435.