สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าในประเทศไทย

Main Article Content

สราชล พาเรือง
อภิชาติ ใจหาญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าในประเทศไทย ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าจำนวน 30 ราย สุ่มแบบเจาะจงโดยเลือกจากผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าในกลุ่มฐานลูกค้าการผลิตของโรงงานผลิตเครื่องสำอางเอสวีเอส อินโนเทค จำกัด ที่จดทะเบียนธุรกิจในประเทศไทย ขอบเขตด้านเนื้อหาศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่อง สำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าทำการเรียบเรียงข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า  ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าไม่มีเครื่องมือที่จะใช้ในการวิเคราะห์แบบองค์รวมทั้งหมดในการทำธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้า  ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการผลิตภัณฑ์ ด้านส่วนประสมทางการตลาด และด้านบริบทและปัจจัยในการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอาง  ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าทำการวิเคราะห์ไม่เป็นระบบ วิเคราะห์ทีละส่วนและวิเคราะห์โดยอาศัยความต้องการและความชอบของผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าเป็นหลัก อาจจะมีการปรึกษาทีมการตลาดจากโรงงานผลิตเครื่องสำอางเพียงบางส่วนหรือใช้งบประมาณจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้ผลลัพธ์ภาพรวมที่ออกมาไม่สอดคล้องกัน  ผลลัพธ์ที่จะออกมาหลังจากผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าออกสู่ท้องตลาดแล้วจึงไม่สอดคล้องกับส่วนต่างๆ ที่เคยวิเคราะห์หรือหากประสบความสำเร็จก็สิ้นเปลืองงบประมาณจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาด หากผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้ามีเครื่องมือที่จะใช้ในการวิเคราะห์การทำธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นแล้ว  ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าจะสามารถวิเคราะห์รูปแบบการทำธุรกิจเครื่องสำอางประเภทครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าด้านต่างๆได้เอง  ก่อนที่สินค้าจะออกสู่ท้องตลาด สามารถลดการสิ้นเปลืองงบประมาณจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการตลาดและลดเวลาในการทดลองใช้วิธีการบริหารอันเป็นต้นทุนที่กระทบต่อผลกำไรของธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อภิชาติ ใจหาญ, มหาวิทยาลัยยูเอ็มออฟเดอะคิงสคอลเลจ

Universal Ministries of the King’s College

References

นงคราญ ไชยเมือง และจิรัฎฐ์ กาญจน์บุญเรือง. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมสู่ประเทศไทย 4.0. สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยพายัพ.

ภัทธีรา ประพฤติธรรม. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การจัดการพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จํากัด.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2561. ตลาดบิวตี้ยังแจ๋ว เกาะเทรนด์ธุรกิจทำเงิน. (ONLINE) https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Beauty-Business_Trend.pdf. 5 ตุลาคม 2563.

อรชร มณีสงฆ์. (2540). หนังสือประกอบการสอน Marketing Principle. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lamb, Charles W., Hair, Joseph F., and McDaniel, Carl. 2000. Marketing. 5th ed. USA: South-Western College Publishing Co., Ltd.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L. L. 1987. Consumer Behavior. 3th ed. New Jersey: Prentice Hall.