การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสภานักเรียนของโรงเรียนในเครือข่าย อำเภอละแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2

Main Article Content

ปิยวัชร อักษรสม
ชูศักดิ์ เอกเพชร
นัฎจรี เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานสภานักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานสภานักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอละแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารงานสภานักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เป็นผู้บริหาร ครูผู้สอน และสภานักเรียน จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .98 ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .94 และ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานสภานักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอละแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านวัสดุและอุปกรณ์ 2) ผลการการพัฒนารูปแบบการบริหารงานสภานักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอละแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า รูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ และตัวชี้วัด 63 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านงบประมาณ 4) ด้านวัสดุและอุปกรณ์ 5) ด้านการบริหารจัดการ 6) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนรูปแบบการบริหารงานสภานักเรียน จำนวน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต 4) ข้อเสนอแนะ/ปรับปรุง และ 3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานสภานักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายอำเภอละแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ชูศักดิ์ เอกเพชร , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Suratthani Rajabhat University

นัฎจรี เจริญสุข, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Suratthani Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือแนวทางปฏิบัติงานสภานักเรียน. กรุงเทพฯ : พระพุทธศาสนา

แห่งชาติ.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และ

การศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4(2) : 71-102.

ชนาธิป สำเริง. (2560). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานสภานักเรียน ที่มีประสิทธิภาพ

ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. รายงานการพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 7 สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

ณะภา ลีพรม. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 : กรณีกิจกรรมชุมนุม, กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาดและกิจกรรมสภานักเรียน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรธน์ สุวรรณปาล. (2563). รูปแบบการดำเนินงานสภานักเรียนสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรยุทธ มาถา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานสภานักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 63. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน.

กรุงเทพฯ : พระพุทธศาสนา.

. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานกิจกรรมสภานักเรียน. กรุงเทพฯ : พระพุทธศาสนา.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน. (2558). คู่มือการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสภานักเรียน. กรุงเทพฯ

: พระพุทธศาสนา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (2563). สารสนเทศทางการศึกษา

ปีการศึกษา 2563. ชุมพร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.

สุดารัตน์ พิมพ์บุตร. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำ

ของสภานักเรียนบ้านน้อมถวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อิสระ ชุมศรี. (2562). การพัฒนาการดำเนินงานสภานักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.