การพัฒนากิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครู ในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการกิจกรรมการ บริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการ บริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อประเมินผลการใช้กิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ศึกษาการดำเนินการกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 พัฒนากิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกิจกรรมรวมทั้งประเมินคู่มือการดำเนินงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้กิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการดำเนินการกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนากิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีองค์ประกอบของกิจกรรม 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) วิธีดำเนินงาน (5) การประเมินผลกิจกรรม ซึ่งมีวิธีการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อม (2) การดำเนินกิจกรรม (3) การประเมินผลหลังการดำเนินกิจกรรม และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของกิจกรรม การบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ระดับมากที่สุด 3) ผลการศึกษาผลการใช้กิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินงานตามกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็กสูงกว่าก่อนการดำเนินงานตามกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินความความพึงพอใจกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ดอกรัก แสนผล. (2559). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลำยวน ไวทำ. (2562). โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิทธิชัย ใจสุข. (2562). โปรแกรมพัฒนาครูด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุปราณี อรรถประจง. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2559). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (ปีงบประมาณ 2554-2558).[Onine]. เข้าถึงได้จาก http :// www. sea12.go.th [2564 กรกฎาคม 14]
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 [Onine]. เข้าถึงได้จาก http :// www. sea12.go.th [2564 กรกฎาคม 11]
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง) [Onine]. เข้าถึงได้จาก : http://v-reform.org [2564 กรกฎาคม 1