ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Ramdom Sampling) โดยจำแนกขนาดสถานศึกษาออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งประชากรทั้งหมด 85 โรงเรียน เมื่อใช้สูตรการคำนวณของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็น 70 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.974 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบรายคู่โดยใช้วิธีของ Scheffe’ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, S.D. = 37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล (= 4.68,S.D. = .39) รองลงมาคือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัล (= 4.64, S.D.= .40), การปรับปรุงอย่างเป็นระบบ (= 4.60, S.D. = .41), การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ (= 4.58, S.D.= .42), และ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (= 4.55, S.D.= .42) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ชัญญาภัค ใยดี. (2561). ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชูชาติ พุทธมาลา. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำทางดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ดวงเดือน ตั้งประเสริฐ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหาร.สถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา. [บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ภาคภูมิ งอกงาม. (2556). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริหารระดับกลาง
โรงเรียนในฝันจังหวัดอ่างทอง. [บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา:การวิจัยแบบผสมผสานวิธี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุเหด หมัดอะดัม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้้บริหารสถานศึกษาตามความ
คิดเห็นของครู โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Wilmore, E.L. (2002). Principal Leadership: Applying the New Educational Leadership Constituent Council (ELCC) Standards. Thousand Oak, California: Conwin Press.
Willson III, E.J. (n.d.). Leadership in the digital age. Retrieved October 24, 2015
from:http://www.cidcm.umd.edu/leadership/Leadership_in__the_Digital_Age.pdf.
Woudenberg, M.K. (2001). A case study of technology-related staff development in California digital high schools: Teacher and administrator concerns and perception. Doctoral dissertation University of La Verne.