การใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนบ้านหนองคลอง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระธิติพันธ์ จิรเมธี (สีเงิน)
สมเดช นามเกตุ
บุญส่ง สินธุ์นอก
อริย์ธัช เลิศรวมโชค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสาราณียธรรม ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพความสามัคคีในชุมชนบ้านหนองคลอง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาการใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน บ้านหนองคลอง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสาราณียธรรม ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นหลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นหลักธรรมที่จะเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นต่อกันและกันอยู่เสมอในยามที่ระลึกถึงกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 2) สภาพความสามัคคีในชุมชนบ้านหนองคลอง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีความขัดแย้งกันเพียงเล็กน้อย ขาดผู้นำชุมชนที่มีความสามารถ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยให้มีคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายต่อไป 3) การใช้หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนบ้านหนองคลอง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี คือ เมตตากายกรรม เคารพนับถือกัน ให้เกียรติกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง เมตตาวจีกรรม พูดแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา ไม่คิดอิจฉาริษยามุ่งร้ายต่อกัน สาธารณโภคี เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งที่ตนได้มาโดยชอบธรรมให้ทุกคนสม่ำเสมอกัน สีลสามัญญตา ประพฤติปฏิบัติดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยความถูกต้อง เคารพกติกา ระเบียบของสังคม ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นเสมอกัน การยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สมเดช นามเกตุ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

บุญส่ง สินธุ์นอก , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

อริย์ธัช เลิศรวมโชค, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระมหาสมพงษ์ อานนฺโท (สุทธิวรรณา). (2563). “การศึกษาประเพณีฮีต 12 ในฐานะเป็นปัจจัยส่งเสริมหลักสาราณียธรรมของชุมชนตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์อมร อมโร (สีดำ). (2562). “แนวทางการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง”.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ สุวรรณรัตน์. (2560). “การสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบด้วยหลักพุทธธรรม”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.