ศึกษาการส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล 5 ตามวิถีวัฒนธรรม อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดหนองคาย 2. เพื่อส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล 5 ตามวีถีวัฒนธรรมของชุมชน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดหนองคาย พบว่า วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และหน่วยงาน ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมร่วมใจด้วยการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ แล้วเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม รณรงค์ชักชวนให้ประชาชน นักเรียนมาร่วมกันทำ 7 กิจวัตรความดีอย่างน้อย 12 สัปดาห์ หนึ่งในนั้นคือการมาร่วมทำกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ กิจกรรมประกอบด้วย การสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ดูสื่อธรรมมะ เปิดใจแบ่งปันประสบการณ์ ทุกสัปดาห์ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมรวมใจ หลังจากนั้น คณะสงฆ์จังหวัดหนองคาย ได้บันทึกกิจกรรมเพื่อเป็นการติดตามผล เพื่อบันทึกเข้าสู่ระบบออนไลน์ของคณะสงฆ์จังหวัดหนองคาย เพื่อที่จะสำเสนอรายงานต่อที่ประชุม คณะสงฆ์ประจำทุกๆ เดือน
การส่งเสริมหมู่บ้านรักษาศีล 5 ตามวีถีวัฒนธรรมของชุมชน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เป็นการยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการ ดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข็มแข็ง ผู้วิจัยได้สรุปเป็นแนวทาง 3 แนวทาง คือ 1) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงอำนาจหน้าที่ 2) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงประเด็น 3) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงพื้นที่ ทั้ง 3 แนวทางเป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่ายเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดี ภายใต้การเชื่อมโยงขององค์กรภาครัฐจนไปถึงองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนจนเพื่อประสานความร่วมมือในเพื่อการแก้ไข และพัฒนาผล การดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพชีวิตของประชาชนตามวิถีชีวิตของชุมชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอาชีพของต้นเองให้มีความเข็มแข็ง มีรายได้จุนเจือครอบครัว อีกทั้งประชาชนในชุมชนเองนั้นต้องลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองและครอบครัวมีความสุขไม่ไปสร้างปัญหาให้เกิดกับชุมชน จะส่งผลให้ชุมชนนั้นมีความเข็มแข็งอย่างสมบูรณ์ และสามารถยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบต่อไป
Article Details
References
มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์. (2541).ทฤษฎีและเทคนิคในการให้คำปรึกษาพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
นฤมล มารคแมน. (2543). มนุษย์และความเป็นจริงของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รังสรรค์ แสงสุข และคณะ. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2558). บทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.
พระมหาถนอม ฐานวโร (พิมพ์สุวรรณ์) และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิรมล เตียงพิทยากร และคณะ. (2560). รูปแบบการส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมงคล จกฺกวโร (วิชาชัย). (2558). ศึกษาพฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันของ
บุคลากรและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์., มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
วณิฎา ศิริวรสกุล. (2561). รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร