แนวทางการจัดให้มีกฎหมายเพื่อการกำหนดฐานความผิดคดีละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการฟ้องคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (11) เห็นว่าถ้ามีการบัญญัติประเภทคดีหรือวัตถุแห่งคดีให้มีความชัดเจนกว่านี้จะเป็นการดีต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นกฎหมายเชิงกระบวนการให้นำไปสู่สิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายสารบัญญัติที่บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพไว้จึงจะทำให้ครบกระบวนการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่จะต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิและเสรีภาพในฐานะเป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายนำไปสู่สิทธินั้นนั่นก็คือกฎหมายวิธีสบัญญัติหรือกฎหมายเชิงกระบวนการจึงจะถือว่าครบกระบวนการในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาและอุปสรรคในการฟ้องคดีได้
จากการศึกษาพบว่า ประเภทคดีหรือวัตถุแห่งคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางอาญา ประเภทคดีหรือวัตถุแห่งคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางอาญา เป็นคดีที่มีการกระทำความผิดที่ใช้มาตรการทางอาญาเป็นหลักในการดำเนินคดีและลงโทษจำเลย และคดีดังกล่าวเป็นการฆ่าในลักษณะทารุณโหดร้ายแก่ผู้ที่อยู่ในบังคับและไม่อาจใช้อำนาจป้องกันได้ แต่ปรากฏว่าไม่มีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีแต่อย่างใด เพราะอาศัยฐานการพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นหลัก ส่วนการฆ่าในลักษณะทารุณโหดร้ายหรือมีลักษณะพิเศษของเจตนานอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาว่าประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเท่านั้น แต่การฆ่าลักษณะนี้เป็นการฆ่าที่มีลักษณะเป็นการฆ่าเพื่อทำลายพยานหลักฐานต่อบุคคลที่ไม่มีโอกาสได้รับสิทธิตามกฎหมาย และผู้ที่ทำการฆ่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่ได้รับมอบหมายมาแก้ไขปัญหาการกระทำทารุณโหดร้ายแก่ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย นอกจากนั้นบุคคลเหล่านี้แม้จะเป็นคนต่างด้าวแต่เขาได้รับการคุ้มครองในฐานะเป็นพลเมืองที่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีการรับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560มาตรา 4 ที่ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
ประเภทคดีหรือวัตถุแห่งคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางปกครอง การได้วิเคราะห์กรณีศึกษาข้างต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการตามหน้าที่แต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชนซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจึงให้อำนาจต่อศาลปกครองในการที่จะเพิกถอนสัญญาทางปกครองที่ได้กระทำกับบริษัทเอกชน ซึ่งศาลปกครองวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง แต่ประเด็นสิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญในกรณีการเอามนุษย์ไปเปรียบเสมือนสิ่งของหรือสินค้าขนส่งหรือการด้อยค่ามนุษย์เยี่ยงสิ่งของหรือสินค้าเป็นคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือกรณีการอุ้มฆ่าหรืออุ้มหาย หรือกรณีการฆ่าในลักษณะทารุณโหดร้ายหรือคดีสุสานโรฮิงญาเป็นกรณีที่นำประเด็นการฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ประเภทคดีหรือวัตถุแห่งคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางแพ่งและในทางระหว่างประเทศ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทางระหว่างประเทศถือว่ามีบทบาทต่อการพัฒนากฎหมายของประเทศไทยเป็นอย่างมากเพราะประเทศไทยได้นำเอาแนวทางต่างๆ และรูปแบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติไว้ในกฎหมายของประเทศไทยโดยเฉพาะหลักการตามที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามในฐานะเป็นประเทศสมาชิกภาพ โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 9 ฉบับ ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และประเทศไทยก็ได้มีการนำพันธกรณีมาทำการปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับ เช่น มาตรการในการสอบสวนคดีเด็กตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC) หรือการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองคนพิการที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of the Persons with Disabilities: CRPD) และในปัจจุบันการตื่นตัวของสังคมสมัยใหม่ที่เรียกร้องหาความเท่าเทียมกันในสังคม เช่น การได้รับความยอมรับและการเข้ามามีบทบาททางการเมืองและสังคมในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) หรือ “ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ” ซึ่งให้บทบาทชายและหญิงมีความเท่าเทียมกัน อันเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” (Fundamental Right) ที่ทุกคนมีความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า “เจตจำนงเสรี” ยังถูกจำกัดอยู่ในอีกหลายๆ แห่งทั่วทุกมุมโลก ดังเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ให้ทุกรัฐพัฒนากฎหมายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน
Article Details
References
กรมองค์การระหว่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Right). กรุงเทพฯ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.
จรัญ โฆษณานันท์. (2559). สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ปรัชญา กฎหมาย และความเป็นจริงทางสังคม Human Rights Without Frontiers: Philosophy, Law and Social Reality.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
รจนศม สุบงกช. (2561). ปัญหาเกี่ยวกับการให้สิทธิทางศาลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 11 (1).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน 40 ก.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 123 ก.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561. (2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 12.
อาดีลัน อุสมา. (2564). สิทธิขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญอินเดีย: บทสำรวจเบื้องต้น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 12 ฉบับเพิ่มเติม 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.
Legislative Department. Ministry of Law and Justice, Government of India. (2022). The Constitutional of India (Online). Available: https://legislative.gov.in/constitution-of-india [2022, December 15].
United Nations. (2012). The Universal Declaration of Human Rights (Online). Available: http://www.un.org/en/documents/udhr/ [2018, 14 September].