เนื้อหาการประทุษวาจาในอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

ธีระวุฒิ แง่ธรรม
สมบัติ สมศรีพลอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาการประทุษวาจาในอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎ ราชวิทยาลัย โดยศึกษาอรรถกถาแปล พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ภาค 1 เล่ม 1-2 จำนวน 150 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาการประทุษวาจาในอรรถกถาแปล เป็นการวิวาทะของตัวละคร เช่น พระโพธิสัตว์ ราชบุรุษ เศรษฐี ตัวละครสัตว์ ฯลฯ ปรากฏเนื้อหา 4 ประเภท ได้แก่ 1) การบริภาษ คือ การกล่าวติเตียน กล่าวโทษ ด่าว่า โดยมีถ้อยคำที่บ่งการบริภาษ คือ ร้าย ชั่ว ชั่วร้าย เจ้าเล่ห์ โกง ปัญญาทราม โง่ 2) การดูถูก คือ การพูดดูหมิ่น เหยียดหยาม ทำให้ผู้อื่นต่ำต้อย โดยมีถ้อยคำที่บ่งการดูถูก คือ ลูกทาสี  ลูกกาลกรรณี คนบ้านนอก 3) การเสียดสี คือ การพูดเหน็บแหนมด้วยความอิจฉา มีข้อความที่บ่งเนื้อหาการเสียดสี คือ คนไม่มีพ่อ คนมีบุญน้อยและ 4) การเยาะเย้ย คือ การพูดให้เจ็บช้ำ ย้ำถึงความด้อยค่า มีข้อความที่บ่งการเยาะเย้ย คือ แผ่นดินและราชสมบัติ อันหาค่ามิได้นี้มีค่าเพียงข้าวสารทะนานเดียว พนักงานตีราคาเหมาะสมแก่พระองค์ของพวกเราทีเดียว เนื้อหาการประทุษวาจาดังกล่าวล้วน ทำให้ตัวละครที่ถูกประทุษวาจาเกิดความรู้สึกเจ็บใจ อับอาย โกรธ ต่ำต้อยไร้ความสามารถ นำไปสู่พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์นอกจากนั้น เนื้อหาการประทุษวาจาในชาดกยังเป็นรหัสทางวัฒนธรรมของสังคมในอดีตที่ถอดให้เห็นความรู้สึก นึกคิดของคนในอดีตผ่านเรื่องเล่าที่มีโครงสร้างการเล่าเรื่องในรูปแบบชาดก ทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนทำให้ทราบวัฒนธรรมการใช้ภาษาเชิงลบที่นำไปสู่ความสะเทือนอารมณ์และความเข้มข้นในการดำเนินเรื่องในฐานะทางวรรณกรรม

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สมบัติ สมศรีพลอย , มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นาวาอากาศโท อาจารย์ ดร. สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

คมสัน รัตนะสิมากูล และอัญมณี ภักดีมวลชน. (2561). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่อง

ภาพความรักของวัยรุ่นที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ เรื่อง I Hate You, I Love you. วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต (ว.ม.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 1 (2), 58-62.

ทัศนา ทวีคูณ และพนิดา บุตรจันทร์. (2562). พฤติกรรมรังแกกันและรูปแบบการเผชิญปัญหา

ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33 (3), 87.

ทัศนา ทวีคูณ และศุภรดา ชุมพาลี. (2562).พฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ตอนต้นของจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33 (3), 128-148

พระมหาญัญญ์คุปต์ เขตต์สิริวรกุล และนพดล เจนอักษร. (2558). หลักการบริหารที่ปรากฏ

ในมหานิบาตชาดก. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.8 (2),

-2746.

พระราชปริยัติกวี. (2561). การศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก. วารสารมหาจุฬาวิชาการ

(2), 1-15.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.

(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิรงรอง รามสูต. (2558). “ประทุษวาจา”กับโลกออนไลน์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษา

ประชาธิปไตยและการพัฒนา (โครงการจัดการพิมพ์คบไฟ).

พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์. (2559). นิทานชาดกสอนคติธรรมสำหรับเด็ก: การสร้างสรรค์และ

บทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

(2), 111-146.

มหามกุฏราชวิทยาลัย.(2546). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. ภาค 1 เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 1.

นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).

สมบัติ ตาปัญญา. (2549). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. ภาควิชาจิต

เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สิริกมล นวลมณี. (2560). ประทุษวาจาเชิงวิพากษ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษา

พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย).บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันใน

วัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(4), 639-648.

WorkpointTODAY. (2565). จิราพร เหน็บ ประยุทธ์ คือ ผู้ทรยศต่อชาติ ขายสมบัติชาติ #

อภิปรายไม่ไว้วางใจ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.youtube.com/shorts/2ZyVUm0-sbQ?feature=share