สมรรถนะของนักบัญชีและการยอมรับนวัตกรรมการบัญชีส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงิน ในเขตภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักบัญชีในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการบัญชีส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงิน ในเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาการยอมรับนวัตกรรมของนักบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงิน ในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออก จำนวน 363 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของนักบัญชี การยอมรับนวัตกรรมของนักบัญชี และประสิทธิภาพของรายงานทางการเงิน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุ พบว่า สมรรถนะของนักบัญชีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงินด้านความสามารถเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และด้านความสามารถเปรียบเทียบได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสมรรถนะของนักบัญชีไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงินด้านความเชื่อถือได้ นอกจากนี้ การยอมรับนวัตกรรมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของรายงานทางการเงินด้านความสามารถเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านความสามารถเปรียบเทียบได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 และพ.ศ.2547. (ออนไลน์) 2563. (สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2565). สืบค้นจาก :
https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=2636&filename=law
กัญญาพร จันทร์ประสิทธิ์. (2564). ประสิทธิภาพนักบัญชียุคดิจิทัลของสถานประกอบการในเขต พื้นที่กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จำนงค์ จันทโชโต. (2558). คุณภาพของรายงานการเงินบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(32):17-33.
ณัชชา คล้ายสุบรรณ. (2562). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุค ดิจิทัล. (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัด นนทบุรีตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชี. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 141-152.
ปวีณา รัตนะอาษา. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีของหน่วยงาน ราชการในมุมมองผู้บริหารส่วนราชการจังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา.
วริยา ปานปรุง. (2563). การพัฒนารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และ
ทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สิริพรรณ์ โกมลรัตน์มงคล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของรัฐวิสาหกิจใน ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 26 (2): 46-60.
Davis. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13, 319-340.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York. Harper and Row Publications.