แนวทางการรับมือและปรับตัวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “แนวทางการรับมือและปรับตัวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร” เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ที่ประกอบด้วยข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative information) และข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative information) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการรับมือและปรับตัวของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในเขตจังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร ดังนั้นระเบียบวิธีวิจัยจึงเน้นทั้งการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) และการสัมภาษณ์ (Interview) กลุ่มตัวอย่างผ่านการใช้แบบนำสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Questionnaire) รวมถึงการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 20 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยหลักการทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวมไปถึงการวิเคราะห์ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter Quartile Range : I.R.) ด้วยวิธีเดลฟายเทคนิค (Delphi Technique) เพื่อยืนยันความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบทางตรงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าลมมรสุมและพายุส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลต่อต้นทุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยมีผู้เห็นด้วยมากที่สุด อยู่ที่ระดับ 4.75 (S.D. 444) ในขณะที่ผลกระทบทางอ้อมต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล ส่งผลต่อการประกอบอาชีพดั้งเดิมหรืออารยธรรมของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ โดยมีระดับความคิดเห็นอยู่ที่ 4.70 (S.D. .732) ในขณะที่การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีแบบเดลไฟล์เพื่อยืนยันความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ พบว่ากลุ่มตัวอย่าง (ผู้เชี่ยวชาญ) จำนวน 20 คน ให้ความสำคัญกับแนวทางการรับมือ (Coping Plan) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย (จ.สมุทรสงครามและ จ.สมุทรสาคร) สอดคล้องกันในทุกประเด็นในระดับมากที่สุด (MD = 4.50-5.00, IR = ≤1.00) จำนวน 9 แนวทาง และมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมาก 1 แนวทาง (MD = 3.50-4.49, IR = ≤1.00) ส่วนด้านแนวทางการปรับตัว (Adaptation Plan) นั้น กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในทุกประเด็นในระดับมากที่สุด (MD = 4.50-5.00, IR = ≤1.00) จำนวน 20 แนวทาง
Article Details
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-
(พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท พีดับบลิว ปริ้นติ้ง จำกัด.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท นอลลิจ
พาเวอร์ จำกัด.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2562, จาก https://km.dmcr.go.th/th/c_1/s_393/d_19056
กัทลี คุรุกุล และกาญจนา นาคะภากร. (2557). การประเมินหาพื้นที่เปราะบางชายฝั่งโดยใช้
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(22)6, 776-788.
กิรฐากร บุญรอด. (2559). แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท้องเที่ยวชายฝั่งทะเล. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้
(2), 141-148.
พันธ์วลี รวมรีย์และสุวิมน คนไว. (2561). แนวทางการรับมือของภาคการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการด้านการบิน
ระดับชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ วันที่ 11 มิถุนายน 2561. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2555). Climate Change : การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับ
การปรับตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562, จาก
https://ttmemedia.wordpress.com/2012/04/19/climate-change-การเปลี่ยน
แปลงสภาพอากาศ/.
วารุณี หาญวรรณา. (2558). ผลกระทบด้านสังคมและแนวทางการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
ทะเล: กรณีศึกษา ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภกร ชินวรรโณ. (2556). อนาคตการท่องเที่ยวไทยกับภาวะโลกร้อน. วารสาร Climate at
Risk : ความเสี่ยงโลกร้อนกับอนาคตประเทศไทย. กรุงเทพฯ.