แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง พื้นที่จังหวัดตาก
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง พื้นที่จังหวัดตากมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง พื้นที่จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง พื้นที่จังหวัดตาก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามหลักสังคมวิทยา โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ (ความเชื่อแบบดั้งเดิม) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต และเก็บข้อมูลทุติยภูมิ : จากเอกสาร และงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนม้งนำเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มาร้อยเรียง เพื่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งแบบแผนวิถีวัฒนธรรมชุมชนม้ง (แบบดั้งเดิม) พร้อมกับสร้างอัตลักษณ์เฉพาะขึ้นในระบบผลิต ระบบคุณค่า และระบบความสัมพันธ์อย่างเป็นองค์รวม และ 2) แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง พื้นที่จังหวัดตาก มีความสัมพันธ์ของระบบสังคม และมีการผลิตซ้ำในวิถีวัฒนธรรมม้ง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมดุลทางด้านจิตใจ วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชุมชนม้ง แบบดั้งเดิม คนม้งมีความเชื่อในเรื่องของวิญญาณบรรพบุรุษ (ผี) ที่สิงสถิตอยู่ภายในบ้านเรือน จำนวน 5 ตน ได้แก่ ผีสือกลั้ง ผีเสากลางบ้าน ผีประตูหน้าบ้าน ผีเตาไฟเล็ก และผีเตาไฟใหญ่ เพื่อปกปักรักษา คุ้มครอง ดูแลคนในครอบครัวให้มีความสุข
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อุษาคเนย์.
คณะกรรมการวิชามนุษย์กับสังคม ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. (2559). มนุษย์กับ
สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีววิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิยพรรณ (พลวัฒนะ) วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (บรรณาธิการ). (2546). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ.
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ภาณุเดช เกิดมะลิ. (บรรณาธิการ). (2552). วิถีแงจอมป่า รักษาผืนป่าตะวันตก. กรุงเทพฯ:ทีคิวพี.
เมตาตา (กฤตวิทย์) วิวัฒนานุกุล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (บรรณาธิการ). (2549). ตำราการแพทย์และสมุนไพร. เชียงราย : วิทยาลัย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ยศ สันตสมบัติ. (2547). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยศ สันตสมบัติ (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติ
ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (องค์การมหาชน).
ศิริพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (บรรณาธิการ). (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา. เชียงใหม่ : วนิดา
การพิมพ์.
ศิริพร ณ ถลาง. (บรรณาธิการ). (2559). มองคติชน เห็นตัวตน ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (องค์การมหาชาน). (2547). วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.
พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สุขเกษม ขุนทอง. (2561). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการเสพย์สารเสพติดบนฐานจารีตม้ง
แบบมีส่วนร่วมของนักเรียนโรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฏีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.