บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคหลังโควิด-19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

พิมพลอย รัตนมาศ
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคหลังโควิด-19 ตามการรับรู้ของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของข้าราชการครูต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 จำนวน 287 คน โดยการใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างเครจซี่ และมอร์แกน และวิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการแบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน 3) ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการเป็นผู้นำและด้านการประเมินผลติดตามผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 4) ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาขนาดแตกต่างกัน มีการรับรู้บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อำนวย ทองโปร่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

ของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ทักษะภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มัลติอินฟอร์เมชันเทคโนโลยี.

ธนิสา คูประเสริฐ. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงใน

การประกันคุณภาพภายในตามการรับรู้ของบุคลากรของสถานศึกษาอาชีวะศึกษาเอกชน เขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นฤมล พรหมลัทธิ์. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์อิศรา ประหยัดทรัพย์. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณ

ลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

พรณรัตน์ ดลธนเจริญวัฒน์. (2558). บทบาทการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่ม

เครือข่าย ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มที่ 5 อำเภอคลองหลวง สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

รสริญ เชยสาคร. (2557). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6 (1). น. 87 - 95.

ยุทธชาต นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษา บนฐานความปกติใหม่. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม

, จาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference /article/view/2545.

วัชราภรณ์ คงเกิด. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทาง

การศึกษาของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมศักดิ์ คงเที่ยง และคณะ. (2543). การบริหารงานบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสาวลักษณ์ บุญมาก และตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร. (2564). บทบาทของผู้บริหารกับ

การนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12. (น. 976-991). หาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.