สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อภิรดี ไชยกาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของYamane (1967) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 จำนวน 401 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบลิเคอร์ท 5 ระดับ วิเคราะห์หาค่าความสอดคล้องได้ค่าเฉลี่ยของเครื่องมืออยู่ที่ 0.85  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่อยู่ระหว่าง 0.67-1.00  ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับที่ค่าเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัยพบว่า สภาพของครูในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.46) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านร่างกาย (= 4.55) และด้านสังคมอยู่ (= 4.55) ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านอารมณ์จิตใจ (= 4.44) และด้านสติปัญญา (= 4.32) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ปัญหาของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีปัญหาในด้านการอบรมเลี้ยงดู ด้านความพร้อมและพัฒนาการของเด็กและด้านการบริหารจัดการ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการสอนที่เนนทักษะกระบวนการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา

ลาดพราว.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. รายงานการวิจัยนำเสนอในการประชุมวิชาการ ครบรอบ 56 ปี แห่งการสถาปนา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2556 กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรเจิด อาจแก้ว. (2542). การศึกษาการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูมัธยมศึกษา

สังกัดสามัญศึกษาจังหวัดเลย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประเวศ วะสี. (2545). ชีวิตกับการศึกษาอยู่ที่เดียวกัน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย.

ภควัฒน์ พิมพาวงศ์. (2558). ความต้องการพฒันาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1: ศรีสะเกษ.

รุ่งลาวัลย์ ละอำคา, (2557). ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย:แก่นแห่งชีวิตที่เสริมสร้างได้จากครอบครัว. วารสารวิจัยและพัฒนาเพื่อสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(2) :33-44.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2542). ประเมินคุณภาพการประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ธันวาคม 2562 แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็ก

ปฐมวัย กรณีศึกษา: การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เข้าถึงได้จาก:

https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=10105

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560.เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เข้าถึงได้จากhttps://www.cgtoolbook.com/ books003/

อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2540. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าในเด็ก :การศึกษาในผู้ป่วย

นอกแผนกกุมารเวชศาสตร์. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยใน

พระบรมราชูปถัมภ์. 80(5): 303-310.

Center on the developing child. (2007). The Science of Early Childhood development: Three core concepts in early development. Retrieved from http://developingchild.harvard.edu/resources/three-core-concepts-in-early-development/.