ฟ้อนม่านมุยเซียงตา

Main Article Content

ภูรดา ธีระวิทย์
สุขสันติ แวงวรรณ
จินตนา สายทองคำ

บทคัดย่อ

การแสดงชุด ฟ้อนม่านมุยเซียงตา ปัจจุบันปรากฏ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบพระราชชายา                      เจ้าดารารัศมี และรูปแบบวิทยาลัยนาฏศิลป โดยโครงสร้างกระบวนท่ารำ รูปแบบพระราชชายา                         เจ้าดารารัศมี มีกระบวนท่ารำตามลักษณะการแบ่งช่วงทำนองเพลงหลักทั้งหมด 19 ช่วง มีกระบวนท่ารำหลักทั้งหมด 43 ท่า โดยแบ่งโครงสร้างกระบวนท่ารำออกเป็น 5 รูปแบบ คือ 1) กระบวนท่ารำพม่าจำนวน 20 ท่า 2) กระบวนท่ารำไทยภาคกลางจำนวน 11 ท่า 3) กระบวนท่ารำไทยภาคเหนือจำนวน 2 ท่า 4) กระบวนท่ารำที่ผสมผสานนาฏศิลป์ตะวันตกจำนวน 7 ท่าและ 5) ลักษณะการใช้เท้าแบบการเต้นบัลเล่ต์ จำนวน 3 ท่า ส่วนรูปแบบวิทยาลัยนาฏศิลป มีกระบวนท่ารำตามลักษณะการแบ่งช่วงทำนองเพลงหลักทั้งหมด 17 ช่วง มีกระบวนท่ารำหลักทั้งหมด 36 ท่า โดยแบ่งโครงสร้างกระบวนท่ารำออกเป็น 4 รูปแบบ คือ 1) กระบวนท่ารำพม่าจำนวน 18 ท่า 2) กระบวนท่ารำไทยภาคกลางจำนวน 14 ท่า 3) กระบวนท่ารำไทยภาคเหนือจำนวน 2 ท่า และ 4) กระบวนท่ารำที่ผสมผสานนาฏศิลป์ตะวันตกจำนวน 2 ท่า โดยการ สืบทอดและการเผยแพร่จากในยุคของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจนมาถึงวิทยาลัยนาฏศิลป อาจมีกระบวนท่ารำในบางช่วง กลวิธีการร้อง สำเนียงภาษาและลีลาท่ารำที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ตามยุคสมัยและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

สุขสันติ แวงวรรณ , สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

จินตนา สายทองคำ, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

References

บุญเสริม สาตราภัย. (2432). เสด็จล้านนา 2. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์. (2543). ดารารัศมีสายใยรักสองแผ่นดิน. พระราชชายาเจ้าดารารัศมีกับ

งานนาฏศิลป. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2534). 20 ปี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์

เชียงใหม่การพิมพ์.

วรชาติ มีชูบท. (2554). พระราชชายาเจ้าดารารัศมีศรีแห่งนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ :

สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2548).คุณานุสรณ์ ครบรอบ 100 ปี คุณครูลมุล ยมะคุปต์. คณะศิษยานุศิษย์

และกองทุนครูลมุม ยมะคุปต์.

สนั่น ธรรมาธิ. (2550). นาฏดุริยการล้านนา. สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

: สุเทพการพิมพ์.

สายสวรรค์ ขยันยิ่ง. (2543). พระราชชายาเจ้าดารารัศมีกับนาฏศิลป์ล้านนา. (ปริญญาศิลป

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์) จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ.

สิทธิพร เนตรนิยม. (2562). ฟ้อนม่านมุยเซียงตา : อิทธิพลนาฏกรรมพม่าในสังคมไทย ศึกษา

วิเคราะห์ความหมายของชื่อชุดการแสดง บทขับร้อง และโครงสร้างของทำนองเพลง.

วารสารไทยคดีศึกษา, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1, มกราคม – มิถุนายน, 65 – 69.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2549). แนวคิดทฤษฎีการฟ้อนล้านนาแบบใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์). จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ