การจัดการเรียนรู้สมุนไพรไทยกับแพทย์แผนไทย

Main Article Content

กิตติยานนท์ วรรณวงศ์
สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย
สอาด ภูนาสรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสมุนไพรไทยกับแพทย์แผนไทยและเพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้สมุนไพรไทยกับแพทย์แผนไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จากตัวแทนคณะกรรมการผู้ก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนไทย วัดโพธิ์ขอนแก่น นวดแผนไทยวัดโพธิ์โนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 คน ผู้ให้บริการจำนวน 3 คน และผู้รับบริการจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การแพทย์ดั้งเดิมของไทยผูกพันกับไสยศาสตร์ ความเชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาจึงเกิดการเรียนรู้และการใช้ประโยชน์ของพืชและสัตว์สมุนไพรในการบำบัดและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น หลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดูแลรักษาปรากฏในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างอโรคยศาล กระจายอยู่ในราชอาณาจักร และค้นพบหลักฐานในประเทศไทย บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยอโรคยศาลเปรียบเหมือนโรงพยาบาล ประกอบด้วยแพทย์ พนักงานจ่ายยา พยาบาล เจ้าหน้าที่และคนงาน วิธีการรักษาเป็นแบบอายุรเวท โดยอโรคยศาลจะมีการรักษาด้วยสมุนไพรและการรักษาด้วยเวทมนต์คาถา ซึ่งบูชาพระพุทธไภษัชคุรุไวฑูรย์ประภาเมื่อได้สัมผัสรูปปฏิมาของพระองค์หรือการสวดบูชาและบวงสรวงด้วยยาและอาหารจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บหายได้ จากระบบแพทย์พื้นฐานอันเป็นการแพทย์ ประสบการณ์กับความเชื่อทางไสยศาสตร์ เกิดการผสมผสานหล่อหลอมเป็นรากฐานของการแพทย์แผนไทยมาจนถึงปัจจุบัน 2) การจัดการเรียนรู้สมุนไพรไทยกับแพทย์แผนไทย เป็นวิธีการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในด้านการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะสมบูรณ์ เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เนื่องจากเป็นการรักษาที่อาการของโรคแล้วยังแก้ที่ต้นเหตุของอาการของโรครวมถึงปัญหาอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่นภาวะจิตใจอารมณ์ พฤติกรรมของผู้ป่วยที่เป็นปัจจัยให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น จึงควรนำการนวดแผนไทยมาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อภาวะปกติ ภาวะรับรู้ว่าเจ็บและภาวะที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย , มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สอาด ภูนาสรณ์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

References

กรุณา จันทุม, กัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2), 48-57

กรุณา จันทุม, กัลยารัตน์ กำลังเหลือ, ทนงศักดิ์ ทองศรีสุข, ปาริชาติ สัตย์ญารักษ์, และปุญญาพร พูลบวรรักษ์. (2559) วัฒนธรรมการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านอีสาน กรณีศึกษา ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 11 (ฉบับพิเศษ), หน้า 149-156

การแพทย์ในประเทศไทย,http://www.trueplookpanya.com/blog/content/62207 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 ต.ค. 2563.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). พืชสมุนไพร ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, หรรษา เศรษฐบุปผา, และวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. (2564). ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ล้านนา” ในการสร้างเสริมสุขภาวะของเด็ก การศึกษานำร่อง. วารสารพยาบาลสาร, ปีที่ 48 (ฉบับที่ 1), หน้า 122-133

ปานวาด มากนวล.(2557). คาถาและพิธีกรรมในการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านบทวิเคราะห์และมุมมองในเชิงคติชนวิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์, ปีที่ 21 (ฉบับที่ 1), หน้า 90-123

สำนักพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี. (2555) คู่มือสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สิงห์บุรี. สำนักพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสิงห์บุรี.

สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ พัฒน์ ศรีสวัสดิ์, พนม สุขจันทร์, จารุวรรณ ประดับแสง, และสมนึก ลิ้มเจริญ. (2556). พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ปีที่ 5 (ฉบับที่ 4) ฉบับพิเศษ, 14-27

สุธี เทพสุริวงค์.(2563) ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของหมอพื้นบ้านในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1), หน้า 238-249

สมภพ ประธานธุรารักษ์, สมภพ ประธานธุรารักษ์, พร้อมจิต ศรลัมพ์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์. (2548), ศึกษาทบทวนการ พัฒนามาตรการด้านวิจัยและการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมเกียรติ สุทธรัตน์, และปาริชาติ เมืองขวา. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, หน้า 255-261