ผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น ตามหลักการกระจายอำนาจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ 2) ศึกษาบทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือวิจัย คือ จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 และทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น มีการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น ( =4.75) ผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น มีการส่งเสริมให้ประชาชนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนชุมชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น ( =4.42) ผู้บริหารท้องถิ่น/สมาชิกสภาท้องถิ่น มีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมรับฟังนโยบายจากผู้บริหารท้องถิ่น ( =4.36) 2) บทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น 3) แนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้นำทางการเมืองกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจ ได้แก่ มีการแสวงหาความรู้ในเรื่องประชาธิปไตยท้องถิ่นอย่างถ่องแท้เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนถึงหลักประชาธิปไตยท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง มีกระบวนการเสริมสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น มีช่องทางเพื่อการเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ และ มีการนำหลักพุทธธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างบทบาทผู้นำทางการเมือง
Article Details
References
กัมลาศ เยาวะนิจ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อดิศักดิ์ จันทไทย. (2562). นโยบายการกระจายอำนาจกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อภิษฎาข์ ศรีเครือดงและคณะ. (2558). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารงานของเทศบาลนครบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรทัย ก๊กผล. (2551). การขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญ’50 สู่การปฏิบัติ: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันระปกเกล้า.