การพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา

Main Article Content

วรยุทธ วงศ์ประเสริฐ
นัฎจรี เจริญสุข
ชูศักดิ์ เอกเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความต้องการของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ และ  3) ประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา  การวิจัยมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา การพัฒนาระบบใช้วงจรการพัฒนาระบบ SDLC โดยผ่านการวิพากษ์และประเมินความเหมาะสมของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา ผู้ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ ของโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


      ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการศึกษาความต้องการของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา พบว่า ความต้องการการพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด โดยเรียงลำดับความต้องการด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการรายงานผล ด้านความปลอดภัยและการใช้ประโยชน์ ด้านการประมวลผล ตามลำดับ  2) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา โดยมีชื่อระบบว่า School Financial System จากการประเมินความเหมาะสมของระบบ พบว่าโดยรวมแล้วระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก  โดยด้านความสะดวกในการใช้งานมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ ด้านการทำงานตามหน้าที่ ด้านตรงความต้องการ และด้านประสิทธิภาพ ตามลำดับ  3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพังงา พบว่าโดยรวมแล้วระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับประสิทธิภาพมากที่สุด โดยประสิทธิภาพของระบบด้านการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาด้านการออกแบบของระบบ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ และด้านความสามารถของระบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

นัฎจรี เจริญสุข , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชูศักดิ์ เอกเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

References

กระทรวงการคลัง. (2546). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2546.

กรุงเทพฯ : กองกฎหมายและระเบียบสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ

กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทาง

การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาและสถานศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เขมวิทย์ จิตตะยโศธร. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์.

ภาควิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

และศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ดิเรก รังรองรจิตภูมิ และดวงพร รังรองรจิตภูมิ. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศ

เพื่อบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัด

ลำพูน. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

กำแพงเพชร ครั้งที่ 3 วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2559 (หน้าที่ 444 - 455).

กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ ศูนย์

การศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี

วีระชัย จิตสุวรรณทยา. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.