นวัตกรรมชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง นวัตกรรมชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการนำหลักธรรมมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมโดยนำหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการใช้นวัตรกรรมชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางวิธีดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากร ได้แก่ ตัวแทนผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมนวัตกรรมชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุจำนวน 46 คน เลือกโดยเจาะจงจากผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและผู้นำชุมชน 13 คน เลือกโดยเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมนวัตกรรมชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ในปีงบประมาณ 2565 จากการวิจัยพบว่า
1 การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการจัดกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุ ในตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า การนำหลักธรรมมาบูรณาการในการดำเนินกิจกรรมในการสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุในวัยสูงอายุที่ผ่านประสบการณ์มามาก ย่อมต้องกลัวที่ลูกหลานจะเกิดซ้ำรอยความผิดพลาดของตนเอง คาดหวังการเห็นลูกหลานประสบความสำเร็จสูง และยังมีปัจจัยด้านความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะตนเองไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ต้องพึ่งพาผู้อื่น ไม่สามารถหาเงินทองได้ และไม่มีสิ่งที่ภูมิใจในตนเองอีก เป็นต้นธรรมะ เป็นสิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยให้เกิดความสงบ รู้จักเข้าใจความเป็นไปอย่างมีสติมากขึ้นที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขที่แท้จริงได้
2 กิจกรรมการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า กิจกรรมการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักภาวนา 4 คือการพัฒนาอินทรีย์ (ร่างกาย) เช่น หูตา จมูก ลิ้น กาย ใจให้เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงสภาวะธรรม เช่น หูสามารถรับรู้ถึง การได้ยินได้ฟัง จมูก แยกแยะในสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารสามารถสัมผัสได้ถึงรสชาติ กายสามารถรับรู้ได้ถึงการสัมผัส สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการนําไปสู่กระบวนการรับรู้ที่จะนําไปการกําหนดจิตให้มีความฟุ้งซ่านหรือมีความสงบซึ่งเรียกอีกนัยหนึ่งก็คือจิตที่เป็นกุศลและจิตไม่เป็นกุศลนั่นเองเพราะการปฏิบัติทางกายย่อมส่งผลให้จิตเกิดความสุขและความสงบได้อีกทางหนึ่ง
3 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมการใช้นวัตรกรรมชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ พบว่า ข้อมูลผู้ตอบแบบสอบเพศหญิงร้อยละ 67.4 เพศชายร้อยละ32.6 ด้านอายุช่วงอายุ60 -69ปีคิดเป็นร้อยละ 32.6 รองลงมา 70 – 74 ปี ร้อยละ 23.9 ระดับการศึกษา ประถมศึกษาร้อยละ 91.3 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 95.7 รายได้ ต่ำกว่า 6,000 ร้อยละ 69.6 การนับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ 100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมกิจกรรมพุทธวิธีการสร้างความสุขผู้สูงอายุพบว่า มีความพึงพอใจในด้านกิจกรรมพุทธวิธีการสร้างความสุขที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิตมากที่สุด ร้อยละ 89.1 รองลงมาด้าน กิจกรรมพุทธวิธีการสร้างความสุขที่ทำให้ชีวิตมีความสุขและมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น ร้อยละ84.8 รองลงมาด้านกิจกรรมพุทธวิธีการสร้างความสุขที่ทำให้รู้ว่าความสุขที่แท้คือสุขภายในใจ ร้อยละ82.6 รองลงมาด้านกิจกรรมพุทธวิธีการสร้างความสุขที่ทำให้รู้ว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน ร้อยละ 80.4รองลงมาด้านวิธีการสร้างความสุขที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิตร้อยละ 67.4
ความพึงพอใจในกิจกรรมการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ด้านการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ การเข้าวัดปฏิบัติธรรมทำให้จิตใจเบิกบานและด้านมีความสุขหากได้ปฏิบัติวิปัสสนาเพราะทำให้ใจสบาย ใจเย็น ใจสงบมากที่สุดร้อยละ 84.8 รองลงมาด้าน เข้าใจและเข้าถึงแก่นแห่งชีวิตยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของตนเอง ร้อยละ82.6 รองลงมา ด้านสามารรถสร้างภูมิคุ้มกันภายในจิตใจของตนให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง ต้านทานต่อปัญหา อุปสรรคร้อยละ 78.3 รองลงมาด้านกิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ และร่างกาย ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขร้อยละ 76.1
- แนวทางในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลบ้านไทร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยทั่วไปนอกจากมีปัญหาสุขภาพร่ายกายแล้วยังมีปัญหาด้านจิตใจสมทบด้วยภายในเวลาเดียวกัน เนื่องสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพตามอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ยิ่งต้องให้ความสำคัญ ทั้งในด้านปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสิ่งนี้ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ บุคคลในครอบครัว ที่ต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้ดูแลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ, (2559) คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ,กรุงเทพมหานคร
กุลยา ตันติผลาชีวะ, (2524).การพยาบาลผู้สูงอายุ, กรุงเทพฯ: เจริญกิจ
บรรลุ ศิริพานิช, (2542) ผู้สูงอายุไทย,พิมพ์ครั้งที่2,(กรุงเทพฯ: สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย
โยธิน แสวงดี ธเนศ กิติศรีวรพันธุ์ และวิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ (2552) “ครัวเรือนกลุ่มกับระบบการ ดูแลผู้สูงอายุกรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี”..
สุรกุล เจนอบรม, (2534) วิทยาการผู้สูงอายุ,กรุงเทพฯ:คณะกรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
,.