การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินที่ปรากฏในอิณสูตรของประชาชนในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระพงษ์ศักดิ์ โรจนวุฑฺฒิ
สิปป์มงคล ป้องภา
นคร จันทราช

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องหนี้สิน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องหลักพุทธรรมที่ปรากฏในอิณสูตร และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินที่ปรากฏในอิณสูตรของประชาชนในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามรูปแบบการวิจัยและนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า


            หนี้สิน หมายถึง เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่ซึ่งจะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่งโดยหนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1)หนี้สินแบบหมุนเวียนและ 2) หนี้สินแบบระยะยาวนอกจากนี้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินพบว่ามี 1) แนวคิดและทฤษฎีเรื่องความ 2) แนวคิดและทฤษฎีเรื่องความต้องการถือเงิน และ 3) แนวคิดและทฤษฎีพฤติกรรมการบริโภค การมีหนี้สินส่งผลกระทบจากปัญหาหนี้สินในสังคมไทยมี 2 ประการ คือ 1) ผลกระทบเชิงบวกของหนี้สาธารณะของชาติและ 2) ผลกระทบเชิงลบของการก่อหนี้สาธารณะของชาติ ส่วนวิธีการการบริหารและการจัดการปัญหาหนี้สินในสังคมไทยปัจจุบันมีการบริหารและการจัดการโครงสร้างหนี้สินและการบริหารและการจัดการการประนอมหนี้


            สำหรับอิณสูตรหมายถึงพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหนี้ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อิณสูตรเป็นพระสูตรสำคัญในทางพระพุทธศาสนาอีกพระสูตรหนึ่งโดยว่าด้วยความเป็นหนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงความทุกข์ของกามโภคีบุคคลผู้ครองเรือนซึ่งเป็นผู้บริโภคกาม โดยผู้ครองเรือนในฐานะปุถุชนนั้นย่อมมีความต้องการเสพกามคุณ 5 โดยมี รูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะโดยเปรียบเทียบกับพระภิกษุ ซึ่งเหมือนกันทั้ง 6 ประการ แต่ความทุกข์ของกามโภคีบุคคลมีความหมายทางโลก ส่วนของพระภิกษุมีความหมายทางคติธรรมมี 6 ประการ คือ 1) ความจน  2) การกู้หนี้ 3) การใช้ดอกเบี้ย  4) การถูกทวง 5) การถูกตาม  และ 4) การถูกจองจำ


            ในส่วนแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินที่ปรากฏในอิณสูตรของประชาชนในอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานีประชาชนนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตโดยมีหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการดำรงชีวิตทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งตนเองโดยมีศีล 5 เป็นหลักธรรมเบื้องต้น และหลักธรรมต่าง ๆ คือ อิทธิบาท 4 อย่างคือ 1) ฉันทะ คือ ความพอใจ 2) วิริยะ ได้แก่ ความเพียร 3) จิตตะ หมายถึง ความมุ่งไปอุทิศตัว และ 4) วิมังสา คือ ความไตร่ตรองหรือทดลอง และ หลักฆราวาสธรรม 4 คือ 1) สัจจะ คือ พูดจริง 2) ทมะ ได้แก่ การฝึกฝน 3) ขันติ คือ ความอดทน 4) จาคะความเสียสละ ประชาชนมีหลักปฏิบัติเพื่อตนพึ่งตนเองได้นั้นคืออดทนซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ขยัน ถ่อมตน และกตัญญูทั้งหมดเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชนในอำเภอสำโรง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สิปป์มงคล ป้องภา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นคร จันทราช , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์.(2545). ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

ชัยวัชน์ หน่อรัตน์ (บรรณาธิการ) . (2545) . เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม: ผลจากการ

เสวนาสหสาขาวิชาการระหว่างสถาบันแห่งชาติครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ฟ้า

อภัย จำกัด, 2545.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . (2539) . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 18,22

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525.กรุงเทพมหานคร:

ราชบัณฑิตยสถาน.

สุวิทย์ รุ่งวิสัย. (2526) . ปัญหาสังคม. เชียงใหม่ : พิมพ์ที่ดวงตะวันการพิมพ์.

โสภณ รัตนากร. (2551). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพานิชย์ว่าด้วยเรื่องหุ้นส่วนและบริษัท,

พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.