กระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

พระสมุห์พรชัย รตนโชโต
พระกัญจน์ กนฺตธมฺโม
พระมหาขุนทอง เขมสิริ

บทคัดย่อ

    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสารประกอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า


  1. สภาพคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษฯ เป็นศูนย์คนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวที่อยู่กันอย่างเรียบง่ายตามแบบของชาวบ้านอีสาน โดยยึดหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีแนวปฏิบัติตามองค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม

  2. พุทธธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษฯ ได้แก่ หลักกรรม หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ และหลักอริยมรรคมีองค์ 8

  3. การประยุกต์หลักธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของชมรมการดำรงชีวิตอิสระคนพิการศรีสะเกษ 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ยอมรับเรื่องกรรม ทำให้สบายใจ มีสัมมาทิฏฐิ ทำให้ยอมรับความจริงของชีวิต มีสัมมาสติ ยอมรับข้อจำกัดของตนเอง 2) ด้านจิตใจ มีสัมมาสมาธิ มีจิตใจที่ไม่พิการ เห็นคุณค่าในตนเอง มีสัมมาวายามะ ทำให้ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคในชีวิต 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีสัมมากัมมันตะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม มีสัมมาวายามะ สามารถปรับตัวปรับใจให้เข้ากับสังคม สัมมาวาจา รู้จักวางท่าที ปฏิบัติต่อสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสม 4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีสัมมาสังกัปปะ พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง มีสัมมาทิฏฐิ ดำรงตนอยู่ดี มีชีวิตที่เกื้อกูลที่ดีงามร่วมกัน มีสัมมาอาชีวะ พึ่งตนเองได้ ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นภาระ และปฏิบัติหลักทิฏฐธัมมิกัตถะหรือที่เรียกว่า หัวใจเศรษฐี ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระกัญจน์ กนฺตธมฺโม , วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาขุนทอง เขมสิริ, วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กันยา วงศ์ชัยวัฒน์. (2561). "แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลักเกษียณอายุ". วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา และคณะ. (2549). "พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างพลังในการดำรงชีวิตและทัศนคติที่เหมาะสมของคนพิการ กรณีคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล". รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) และศูนย์ศิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนทางการแพทย์แห่งชาติ.

พงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ และคณะ. (2563). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 (มิถุนายน-สิงหาคม).

พระครูปลัดสิวริศร์ สุทฺธิมโน และคณะ. (2563). "การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมบริโภคนิยม". วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน.

พระรณชัย กิตฺติราโณ. (2561). "การประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย". วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศราวุธ ปญฺญาวุโธ. (2557). "การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสรณ์สิริ ปชฺชลิโต. (2553). "ทัศนคติเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาดารานักแสดงและนักร้องสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3". วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการไทย. (2549). 11 คำถาม การดำรงชีวิตอิสระคนพิการไทย. เอกสารเผยแพร่การประชุมวิชาการการนำเสนอผลการดำเนินงานและประสบการณ์การดำรงชีวิตคนพิการไทยวันที่ 20 กรกฎาคม 2549. กรุงเทพฯ: ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการไทย.