การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พระบัญชา สญฺญจิตฺโต (อัครชาติ)
สุทัศน์ ประทุมแก้ว
พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ

บทคัดย่อ

    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 20 รูป/คน ประกอบด้วยกลุ่มพระสงฆ์ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มผู้เรียนรู้ต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงพุทธของชุมชนชาวกูย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มีหลักการหรือแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนชาวกูย 7 ประการ คือ 1. แนวทางการฝึกการอบรมจากครอบครัว 2. การสร้างระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น 4. การสร้างจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมทางด้านการแต่งกาย เป็นต้น 5. การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ซึ่งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะสร้างปราชญ์ท้องถิ่นให้มีมากขึ้น โดยปราชญ์ท้องถิ่นเหล่านี้สามารถพัฒนาภูมิปัญญาที่เกิดจากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ตนมีถ่ายทอดไปสู่เด็กรุ่นใหม่ได้ในอนาคต โดยการนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอยู่ร่วมกันของชุมชมชาวกูย คือ หลักสังคหวัตถุ 4, หลักพรหมวิหารธรรม 4, หลักอปริหานิยธรรม 7, หลักคารวตา, หลักความกตัญญู, หลักสาราณียธรรม 6 เป็นต้น

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สุทัศน์ ประทุมแก้ว , วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระพรสวรรค์ ฐิติญาโณ, วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กฤษฎา ตัสมา. (2556). “การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรโชค วีระสัย. (2540). “มิติทางวัฒนธรรมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น”. เอกสารการ ประกอบการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ต่อจรัส พงษ์สาลี. (2547). “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย”. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรองค์การมหาชน.

น้ำทิพย์ จุลละนันท์. (2557). “ประเพณีแห่นาคโหดกับบทบาทด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาสังคม”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ประจวบ จันทร์หมื่น. (2550). “การบูรณาการ คติ ความเชื่อ ในวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญา ของชาวส่วย เขมร ลาว เยอ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อการดูแลลูกหลานในภาวการณ์ เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พระพชรพร โชติวโร. (2554). “ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัด

ร่องเม็งจังหวัด เชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการวิน ทีปธมฺโม (อิ่มใจ). (2556). “บทบาทของพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีการแข่ง เรือยาว วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาพร มากแจ้ง. (2540). การศึกษาวิถีชีวิตมอญบางกระดี่. ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติการอุดมศึกษา

เพื่อพัฒนาท้องถิ่น: สถาบันราชภัฎธนบุรี.