ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี

Main Article Content

สิริสิทธิ์ ศักดิ์ภิรมย์
กาญจนา บุญส่ง

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการจัดการศึกษาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการจัดการศึกษาดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในสถานการณ์การะระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี และ 2) แนวทางในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในการรวบรวมข้องมูล โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียน จำนวน 4 คน และผู้ปกครอง จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 19 คน จากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ได้มาโดยใช้เทคนิค Snow Ball การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบทางบวกต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนทุกขนาดมีการปรับเปลี่ยนแผนงานและเป้าหมายในการจัดการศึกษา  ปรับวิธีกระบวนการนิเทศภายใน และการกำกับติดตามตลอดจนการประเมินผลการศึกษาใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์  มีการปรับปรุงระบบสัญญานอินเตอร์เน็ตให้มีคุณภาพดีขึ้นมีการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับประยุกต์ใช้ ผลกระทบทางลบต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่า  คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูลดลง  เครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไม่เพียงพอแล้วคุณภาพของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร  วัสดุอุปกรณ์เพื่อที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่เพียงพอในสถานศึกษา  หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นๆ ขอข้อมูลจากการสำรวจเป็นจำนวนมากจากสถานศึกษา ตลอดจนพบว่ามีการเสนอความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองและมีความต้องการการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤตของผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครองที่หลากหลาย

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

กาญจนา บุญส่ง , มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

References

กทม.(มิถุนายน, 2563). จัด 2 แนวทางมาตรการเปิดเทอม "รูปแบบปกติ-สลับวันเรียน".). สืบค้น

จาก https://news.thaipbs.or.th เข้าถึงเมื่อเมื่อ 18 มีนาคม 2564.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก moe.go.th

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบการศึกษาของโลกและ ประเทศไทย ในมุมมองทำงเศรษฐศาสตร์. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2020/04/19-economists- with-covid-19-15/

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19 : จาก บทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นจาก tdri.or.thเข้าถึงเมื่อเมื่อ 16 มีนาคม 2564.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด -19 : วิกฤตหรือโอกาส

การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ

เสาวณี จันทะพงษ์ และทศพล ต้องหุ้ย. (2020). ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This time is different. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_1 8 Mar2020.asp.

Di Pietro, G., Biagi, F., Costa P., Karpinski, Z., and Mazza, J. (2020). The likely impact

of COVID-19 on education: Reflections based on the existing literature and

recent international datasets. A Technical report by the Joint Research Centre (JRC).

Finnish National Agency for Education. (2020). Education in Finland and the Coronavirus. Retrieved from https://www.oph.fi/en/education-and qualifications/education-finland-and coronavirus