การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว ของโรงเรียนวัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) จังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และสนองความต้องการของโรงเรียนวัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีการนำองค์ความรู้ในท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องวัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และ 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องวัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัวของโรงเรียนวัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พื้นที่เป้าหมาย คือ ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และโรงเรียนวัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 โรงเรียนวัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) จำนวน 38 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการของชุมชน แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว ของโรงเรียนวัดสนามไชย (สนามไชยประชานุกูล) จังหวัดราชบุรี คือ 1)ประวัติความเป็นมาคนไท-ยวนบ้านคูบัว 2)สถานที่สำคัญบ้านคูบัว 3)ภาษาไท-ยวน 4)ประเพณีไท-ยวนบ้านคูบัว 5)อาหารพื้นบ้านไท-ยวนบ้านคูบัว 6)การแต่งกายไท-ยวนบ้านคูบัว และ 7)ผ้าจกไท-ยวนบ้านคูบัว
- การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว ของโรงเรียน
วัดสนามไชย(สนามไชยประชานุกูล) จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย โครงสร้างหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นมีความเหมาะสมกับผู้เรียน ผลการทดลองใช้หลักสูตร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 29.21 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 32.98 และผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ผู้เรียนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมไท-ยวนที่บ้านคูบัว สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
Article Details
References
กาญจนา บุญส่ง และนิภา เพชรสม. (2556). ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร.
เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ณภัทร ศิลปศร. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องสัตว์ที่อาศัยในระบบนิเวศป่าชายเลน
ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
อย่างมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี : เพชรบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). การวิจัยปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์
กรุ๊ป.
บงกช กรุดนาค. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง สารสกัดสมุนไพรและปุ๋ยหมัก
ธรรมชาติ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี : เพชรบุรี.
ปฏิญญา สุจริตไทย. (2559). การศึกษาการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สุธี วรประดิษฐ. (2549). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของ
เกษตรกรบ้านเสนาณรงค์ ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิงจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ละเมียด ไทยแท้. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วัฒนธรรมมอญที่บางลำพูของโรงเรียน
วัดบางลำภู ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.