การเยียวยาจิตใจเชิงพุทธอย่างสร้างสรรค์ภายใต้ หลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่าได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับระบบสังคม เศรษฐกิจ ในสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ความสุขของมนุษย์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากการสังเกตไม่ว่าจะเป็นรายได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์อยู่ได้แต่ภายหลังสถาการณ์โรคระบาดได้ลดลง ทั่วโลกให้ความสนใจกับการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความสุขทั้งภายในและภายนอกตลอดจนการดำเนินชีวิตโดยถือหลักศาสนาเป็นตัวเชื่อมระหว่างความสุขกับการดำเนินชีวิตของผู้คน
การศึกษาเรื่อง “ธรรมเพื่อส่งเสริมการดำเดินชีวิตหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19” ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของตนด้วยดี ทั้งนี้มุ่งศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นหลักคำสอนที่เน้นการพัฒนามนุษย์ในด้านความประพฤติที่ครบถ้วนบริบูรณ์ โดยมีเนื้อหาสาระครอบคลุมความประพฤติของมนุษย์ที่ปรากฏทาง กาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นความประพฤติระดับต้น มีการเกื้อกูลแก่กันและกัน ช่วยกันรักษาระบบสังคมที่ตนมีส่วนร่วมในการที่จะให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตที่ดีงามของสังคมความประพฤติระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพทางจิตใจให้มีคุณภาพ มีความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีความกล้าหาญ และพร้อมที่จะเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิต และโลก และระบบความประพฤติระดับสูง ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ คือ ตัวปัญญา โดยใช้ปัญญา ในการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขสืบไป
Article Details
References
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ.(2561) บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์
มจร ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2561)
ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว. (2542). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร
ธีรทิพย์ พวงจันทร์.(2563) การเสริมสร้างสัมมาชีพของผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมในจังหวัด
สุรินทร์ วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 2563 กรกฎาคมธันวาคม 27.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2565). บทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมและประเทศชาติ. ค้นเมื่อ 8
สิงหาคม 2565 จากhttps://www.soc.go.th/acrobat/nesac010856.pdf.
เสถียร พงษ์วรรณปก.(2563).การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธรรมในยุคโควิด 19. วารสารสห
วิทยาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563.