การพัฒนารูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ เพื่อความอยู่ดีมีสุขชุมชนต้นแบบหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้าน เขตพื้นที่กลุ่มนครชัยบุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ เขตพื้นที่กลุ่มนครชัยบุรินทร์ และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ เขตพื้นที่กลุ่มนครชัยบุรินทร์ พื้นที่ในการศึกษา ได้แก่ ศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ เขตพื้นที่กลุ่มนครชัยบุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ และแบบสอบถามการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธต่อรูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ แบบการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กระบวนการถอดบทเรียน แบบ After Action Review: AAR ถอดบทเรียนที่ได้ สรุปผลและเขียนรายงาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบกระบวนการการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธที่พัฒนาขึ้น คือ “PSMART Model” ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ชื่อว่า “PSMART Model” องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยเอื้อ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยสนับสนุน องค์ประกอบที่ 4 การประเมินผลและถอดบทเรียน องค์ประกอบที่ 5 ชุมชนมีสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธที่ดี 2) ผลการทดสอบความรู้ สอบถามเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสร้างเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ พบว่าภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด
Article Details
References
เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์ สุรางค์ เมรานนท์และชาตรี เกิดธรรม.(2556).ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการ สอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2556
แผนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2560-2564 (ฉบับปรับปรุง).(2560).คำสั่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ 141/2560.( ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.rpca.ac.th/images/news/plan/plan_develop_rpca_60-64.pdf.(สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2562)
พระราชดำรัสในพิธีพระราชทานกระบี่แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ.(2497). วันที่ 2 เมษายน 2497 พุทธศักราช 2497
พระเมธาวนิยรส.(2557). คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตำรวจความคาดหวังของประชาชนวารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
พันตำรวจโทนพรุจ ศักดิ์ศิริ.(2550).การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุ ศาสตร์จุฬาลงกร มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2550.
มีชัย สีเจริญ.(2017).หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจมุ่งสู่ความเป็นวิชาชีพตำรวจ:ทิศทางในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2555-พ.ศ.2564).วารสาร สมาคมนักวิจัย ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2560.
วาสนา ศรีอัครลาภ และจิราวรรณ คงคล้าย.(2559).การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การแห่งยุคสารสนเทศ สู่องค์การยุคใหม่ในอนาคต. eridian E-Journal, Silpakorn University ปีที่ : 9 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 328-338 ปี พ.ศ. 2559
Yang Lizhou. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอน อ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยู นาน ตามแนวการสอนแบบ Active Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ดุษฎีนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2545). งานของกรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข. (2557). Thailand medical services profile
- 2014 (การแพทย์แผนไทย 2554-2557). นนทบุรี: ม.ป.ท.
กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. (2553). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แนวทางการสร้างสุขภาพบน
พื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. กรุงเทพฯ: เรดิชั่น จากัด.
กรีธา พันธุ์ฤกษ์. (2551). การศึกษากระบวนการดำรงอยู่ของกลุ่มชนที่เข้มแข็ง: กรณีศึกษา
กลุ่มชุมชนในชุมชนบ้านท่าไทรหมู่ที่ 1 เทศบาลตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.
กฐิน ศรีมงคล. (2542). การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการเกษตร. ศูนย์สารสนเทศภาควิชา
ส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทาแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9. (2544). “แผนพัฒนา
แห่งชาติช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549.”
วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข 4, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2544): 49-51.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554.
(2550). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
อุ่นเอื้อ สิงห์คำ และน้องเล็ก คุณวราดิศัย. (2557). กระบวนการและผลของการสร้างเสริมสุข
ภาวะองค์รวมวิถีพุทธ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19(1), 73-85.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measuremen 30 (1970): 607-610.
Kuhn, T. S. (1970). The structure of scientific revolution. (2nd edition, enlarged) Chicago: The University of Chicago Press.
McEvoy, L., & Duffy, A. (2008). Holistic practice – A concept analysis. Nurse London: Flamingo An Imprint of Harper Collins.
World Health Organization. (1986, November). First Ottawa Charter for Health Promotion. The first International Conference on Health Promotion, meeting in Ottawa this 21st day of November 1986.