ประสบการณ์นิยมความเชื่อเรื่องเทวดา

Main Article Content

สุภิศรา บุญช่วย
พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
สมภาร พรมทา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์นิยมความเชื่อเรื่องเทวดาในศาสนาเทวนิยม 2.ศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์นิยมความเชื่อเรื่องจริยธรรมของเทวดาต่อศาสนาเทวนิยม 3.วิเคราะห์ประสบการณ์นิยมความเชื่อเรื่องเทวดาที่อิทธิพลต่อสังคมพหุนิยม โดยศึกษาใน คัมภีร์จักรวาลทีปนี  พุทธธรรม  ปรัชญา ศาสนาและนักบุญโทมัส อะไควนัส


คำว่า เทวดา มาจากศัพท์เดิมว่า การเล่น บูชา  อภิธานัปปทีปิกาสูจิ วิเคราะห์ความหมายของคำว่า เทวะ หรือ เทวดา ว่า “ทิพฺพนฺติ กีพนฺติ วุทฺธึ คจฺฉนฺติ โลกา อเนนาติ เทโว : ที่ชื่อว่า เทวะ คือเทพ หรือเทวดา เพราะอรรถว่า เล่น รื่นเริง คือย่อมไปสู่ความเจริญจากโลกนี้”


คัมภีร์สัททนีธาตุมาลาบาลีมหาไวยากรณ์ ได้แสดงความหมายของเทวดาเอาไว้ว่า ทิพฺพนฺติ กามคุณฌานาภิญฺญาจิตฺติสฺสริยาทีหิ กีฬนฺติ : ผู้เพลิดเพลินด้วยกามคุณ ฌานอภิญญา และความเป็นใหญ่ในจิต ชื่อว่า ชื่อว่า เทวดา, ทิพฺพนฺติ ยถาภิลาสิต วิสย อปปฺฏิฆาเตน คจฺฉนฺตีติ เทวา : อีกนัยหนึ่ง ไปสู่อารมณ์ดังปรารถนาโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ชื่อว่า เทวดาว่า ทิพฺพนฺติ ยถิจฺฉิต-นิปฺผาเทน สกฺโกนฺตีติ เทวา : อีกนัยหนึ่ง ผู้สามารถในการยังสิ่งที่ตนต้องการให้สำเร็จ ชือว่า เทวดา, อถวา ต ต พฺยสนนิตฺถรณตฺถิเกหิ สรณ ปรายณนฺติ เทวนียา อภิตฺถวนียาติ เทวา : อีกนัยหนึ่ง ผู้ควรยกย่องว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้ปรารถนาจะพ้นจากพ้นจากวิบัตินั้น ๆ ชื่อว่า เทวดา โสภาวิเสสโยเคน กมนียาติ วา เทวา : อีกนัยหนึ่ง ผู้ควรปรารถนาโดยประกอบด้วยความงามเป็นพิเศษ ชื่อว่า เทวดา 

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

พระครูโกศลศาสนบัณฑิต , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมภาร พรมทา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

กรมวิชาการ, (2511) สํสกฤต-ไทย-อังกฤษ อภิธาน, (พระนคร : คุรุสภา)

ต.นาคะประทีป, (2467) บาลี อภิธานปฺปทีกาและสูจิ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไท)

พระอัคควังสเถระ, (2545) สัททนีติธาตุมาลา คัมภีร์หลักบาลีไวยากรณ์, (กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์)

พจนานุกรม, (2546) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทนามีบุ๊คพับเคชั่น จำกัด)

พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต), (2523) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 9, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

ฟื้น ดอกบัว, (2532) ปวงปรัชญากรีก, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)

พระธรรมปิฏก(ป.อ. ปยุตฺโต), (2546) เรื่องเหนือสามัญวิสัย : อิทธิปาฏิหาริย์-เทวดา,(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ)

เสถียรพงษ์ วรรณปก, (2535) พุทธศาสนา : ทัศนะและวิจารณ์, (กรุงเทพมหานคร : ช่อมะไฟ)

พระราชวรมุณี(ปยุตฺโต), (2518) พจนานุกรมพุทศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.9 ), (2555) โลกทีปนี, (กรุงเทพมหานคร :

สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,).

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์), (2534) นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,).

ที.ปา.(ไทย)11/275-286/218-232.

ที.ปา.(ไทย)11/276/218-220.

D.Hume, An Enquiry Cancerning Human Understanding, La Salle, 111, Open Coutt Publishing Co, 1935, Section 18, part 8.