บทวิจารณ์หนังสือ เรื่องเปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์

Main Article Content

สุภิศรา บุญช่วย
พระครูโกศลศาสนบัณฑิต
สมภาร พรมทา

บทคัดย่อ

หนังสือเรื่อง “เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์ Comparative concept Phrabuddhathat & Sartre.”เขียนโดย  พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธฺมมจิตโต) ศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต นามเดิม ประยูร มีฤกษ์ ฉายา ธมฺมจิตฺโต  พระพรหมบัณฑิต เป็นพระนักวิชาการ นักบริหาร นักการศึกษา นักเทศน์และนักเขียน ผู้มีผลงานมากมายทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา  เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 5  สมัย หนังสือเล่มนี้ เขียนไปภาษาไทย จำนวน 112  หน้า  โดยในครั้งแรกเป็นบทปาฐกถาแบบบันทึกเทปและนำมาถอดเป็นเอกสาร หนังสือเล่มนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 6  พ.ศ. 2551 หนังสือ เปรียบเทียบแนวคิดพุทธกับซาตร์  เป็นการศึกษาผลงานของท่านทั้งสอง เนื่องจากท่านพระพุทธทาสเป็นนักอัจฉริยะทางศาสนาเป็นที่รู้ทั่วโลก และได้รับการประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ส่วนซาตร์นั้นเป็นนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก เป็นเจ้าของรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ปี พ.ศ.2507


            ในหนังสือเล่มนี้ เริ่มด้วยคำนำสำนักพิมพ์ ในวันที่ 29  พฤษภาคม  2559 เป็นวันครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส และในวโรกาสที่ท่านได้รับการยกย่องจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งประชาชาติ หรือยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกอประจำปี 2559-2560  ณ กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส


            คำอนุโมทนาพระธรรมโกศาจารย์ หนังสือเรื่องเปรียบเทียบพระพุทธทาสกับซาตร์ นี้เป็นผลงานการถอดเทปปาฐกถาที่แสดง ณ วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 25  มิถุนายน  2525  ตามคำอาราธนาของชมรมพุทธ-ไทยปริทัศน์ และคณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา การพิมพ์ครั้งนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 6 โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ

Article Details

บท
Book Reviews
Author Biographies

พระครูโกศลศาสนบัณฑิต , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมภาร พรมทา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

พระธรรมโกศาจารย์, (2551) เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาร์ต, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,

กรุงเทพมหานคร,พิมพ์ครั้งที่ 6.

พุทธทาสภิกขุ , แก่นพุทธทาส, (2504) ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ธรรมสภา, กรุงเทพมหานคร, วิสุทธิ.3/101.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์), (2534) นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนา, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,).

Sartre.J-P. The Transcendence of the Ego. Nooday Press. 1959 p.25.