แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษามีความแตกต่างกันหรือไม่ 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูฝ่ายวิชาการ จำนวน 280 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentile) ค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติทดสอบ ที (t – test for independent) และการใช้สถิติทดสอบเอฟ (F – test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ระดับมาก 1 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความไว้วางใจ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านความยืดหยุ่นและปรับตัว ด้านการมีจินตนาการ ด้านการมีวิสัยทัศน์ 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษาโดยรวมมีความแตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 3.1 ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ให้ก้าวไกล สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน พัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิสัยทัศน์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ตระหนักและเห็นคุณค่าในการเกิดการมีวิสัยทัศน์ร่วมกันและส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ไข 3.2 ด้านความยืดหยุ่นและปรับตัว ผู้บริหารพัฒนาและปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขกฎและระเบียบ วิธีการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร เปิดโอกาสให้ครูแสดงออกถึงความสามารถในการทำงาน มีทักษะในการคิด ปรับตัวต่อวิธีการการแก้ปัญหาในการทำงานอย่างเป็นระบบ พัฒนาความสามารถในการบูรณาการทำงาน ได้อย่างหลากหลายมิติตามความเหมาะสม 3.3 ด้านการมีจินตนาการ ผู้บริหารส่งเสริมพฤติกรรมครูในการแสดงออกถึงกระบวนการสร้างมโนภาพที่เด่นชัดมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มองทางออกของปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาผู้บริหารและครูให้แสดงถึงความสามารถในการคิด สุขุม รอบคอบในงานที่ทำ และแสวงหาวิธีการใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ที่เหมาะตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ 3.4 ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุนให้คำแนะนำครูและบุคลากรมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานวิเคราะห์ สังเคราะห์ความคิดเห็นต่างๆ ในทีมงานเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น รับฟังและร่วมมือกันแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม ผู้บริหารสร้างการกำหนดบทบาทหน้าที่การทำงานของบุคลากรเพื่อให้บรรลุในทิศทางและจุดมุ่งหมายอย่างเป็นระบบ 3.5 ด้านความไว้วางใจ ผู้บริหารเปิดโอกาสและเต็มใจรับฟังความคิดเห็นและยินยอมที่จะทำตามข้อเสนอของผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาต่อสมาชิกในองค์การ โดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและยึดหลักธรรมาภิบาล เคารพการตัดสินใจของบุคลากร ให้เกียรติ เข้าใจข้อผิดพลาดของบุคลากร
Article Details
References
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ : ธีรสาส์น.ฉลาด กันกา. (2550).
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์
ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา.วิทยานิพนธ์ ปร.ด.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดวงแข ขำนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.
Adair, J. (2007). Leadership for Innovation: How to organize team creativity and harvest ideas. London: Kogan Page.
Bass. (1985). Leadership and performance beyond expectaions. New York: Random. .
Bennis, W. (2002). “Creative Leadership.” [ABI]. Bangkok: Chulalongkorn University.
Brown, T. (2009. “Change by design: How design thinking transforms organization and inspires innovation.” New York: Harper Collins.