ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์
นภา นาคแย้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบุคลากรของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐม จำนวน 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.899 และใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ


ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยด้านรายได้ ปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐมในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02, 3.84 และ 4.09 ตามลำดับ (2) ปัจจัยด้านรายได้และปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย สามารถร่วมกับพยากรณ์การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครปฐมได้ร้อยละ 78.60 โดยปัจจัยด้านรายได้เป็นตัวแปรพยากรณ์การวางแผนทางการเงินที่ดีที่สุด (β = 0.788, p-value < 0.01) จากข้อค้นพบการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารโรงพยาบาลควรมีนโยบายและส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับการอบรมเกี่ยวกับการจัดการทางการเงิน และส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาลตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล

Article Details

บท
Research Articles

References

ชฎาพร คุณชื่น. (2561). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการเงินและการธนาคาร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐฐาวรี ศรีวัฒนไชย. (2563). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุของพนักงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัคมน อ่อนพุทธา. (2561). การจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน ในเขตตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. Sisaket Rajabhat University Journal, 12(1), 40-50.

พัชรี นาเลา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภณิตา สุนทรไชย รทวรรณ อภิโชติธนกุล และกอบชัย นิกรพิทยา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางทางการเงินส่วนบุคคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สรา ชื่นโชคสันต์ ภาวนิศร์ ชัววัลลี และวิริยะ ดำรงค์ศิริ. (2564). 8 ข้อเท็จจริง ปัญหาการเงินของครัวเรือนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Oct2019.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). หนี้สินครัวเรือน : ผลกระทบระดับประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/บริการสถิติ%20บทความเด่น/หนี้สินครัวเรือน--ผลกระทบประเทศ.aspx.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2564). ข้อมูลสถิติบุคลากรทางการแพทย์จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก https://npt.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source= pformated/format1.php&cat_id=c11dad88f80061c70cd1ae96b500d017&id=680c8ce3c9c0f0bd6d9734664ad4eb13.

สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์ วัลลพ ล้อมตะคุ และปาลิตา คำยัน. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพะเยา เขต1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(2), 103-111.

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice (8th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis (3th ed.). New York: Harper &row.