นโยบายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อการรับมือภัยพิบัติการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของภาครัฐ ในจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่องนโยบายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ต่อการรับมือภัยพิบัติการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของภาครัฐ ในจังหวัดชัยภูมิ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมาย 1) หาแนวทางให้องค์กรภาครัฐ เอกชน ชุมชน ให้ความรู้วิธีการและกระบวนการการให้ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ 2) ให้เกิดความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ 3) ศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับประชาชนจากการให้ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลเมือง ก็ยังเชื่อถือข้อมูลจากแหล่งสื่อโซเชียลมากขึ้น การสื่อสารที่ล่าช้าและเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาตลอดเวลา ไม่สื่อสารข้อมูลที่สำคัญๆ ไม่กระชับประเด็นสำคัญ การสื่อสารมีความเยิ่นเย้อ มุ่งการการรายงานเฉพาะตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน และแจ้งข่าวเพียง 1 ครั้งต่อวัน การขาดการประสานงานเนื่องจากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถออกคำสั่งประกาศมาตรการแต่ละพื้นที่ได้ การปฏิบัติจึงมีความแตกต่างกัน บริหารจัดการวัคซีนแบบรวมอำนาจไว้ที่นายกรัฐมนตรี และการให้ข้อมูลข่าวสารที่มาจากหลายหน่วยงานไม่ได้มีลักษณะที่สอดคล้องกัน เป็นเชิงโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่า การใช้ศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ สร้างความสับสน อีกทั้งการสื่อสารยังใช้ศัพท์เทคนิค ศัพท์ที่เข้าใจยาก คลุมเครือ การตอบคำถามแบบกว้างๆ ของกระบวนการจัดสรรหรือการเข้าถึงวัคซีน โดยภาครัฐการสื่อสารข้อมูลมีปริมาณมากจนล้นเกินความจำเป็นของการสื่อสาร โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียจึงมีส่วนทำให้เกิดข่าวปล่อย ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวเท็จ การที่ประชาชนได้รับหรือส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากทำให้ความสามารถในการกลั่นกรองข่าวของประชาชนลดลง ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่สื่อยังคงทำงานตามหลังรัฐบาล ด้วยการพูดหรือนำเสนอข่าวจากสิ่งที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบมานำเสนอเท่านั้น เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐนั้นยังไม่ตรงใจประชาชน ยิ่งส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารขาดความเชื่อมั่นจากประชาชน เกิดความวิตกกังวล แต่ยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตเข้ามามีบทบาทช่วยในการรับมือภาวะความเครียด
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการนสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1). กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข.(2565). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ และมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID – 19) สาหรับสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565. กระทรวงสาธารณสุข.
กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พ.ศ. 2560- 2564. กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์.
กองพัฒนานโยบาย และนวัตกรรมทางสังคม. (2563) ผลกระทบ covid-19 ต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ปทุมมา ลิ้มศรีงาม. (2564). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน (2564).
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2563).มหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พนม คลี่ฉายา. (2561). การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเอง
ให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ของโรคโควิด 19.รายงานการฝึกอบรม.สถานบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
วลัยพร รัตนเศรษฐ, สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. (2564). บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม สิงหาคม (2564).
อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์. (2560) การศึกษาผลของการเลือกเปิดรับข่าวสาร ต่อความสนใจ ความผูกพัน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. // www.jc.tu.ac.th
สฤณี อาชวานันทกุล. (2564). มุมมองเชิงธรรมาภิบาล การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังพลเมืองในศตวรรษที่ 21, Sarinee Achavanuntakul. มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2563). การผลิตสื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองช่วง สถานการณ์ (COVID-19). เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2564 จาก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน, (SES) กรุงเทพ.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). การสำรวจทัศนคติและปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการมีบุตรในกลุ่มประชากร Gen Y.
อุทัย เลาหวิเชียร และวรเดช จันทรศร (2526). การบริหารการพัฒนา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.แผนและมาตรการ การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจาถิ่นกระทรวงสาธารณสุข 2565