ปัญหาบทลงโทษของการเมาแล้วขับขี่ยานพาหนะกรณีขับรถเมาแอลกอฮอล์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

Main Article Content

กันตพัฒน์ สุขพานิช
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการลงเพิ่มโทษผู้ขับขี่ยานพาหนะ 2) ศึกษาปัญหาบทลงโทษ มาตรการการเพิ่มโทษผู้ขับขี่ยานพาหนะ 3) ศึกษาเปรียบเทียบบทลงโทษของผู้ขับขี่ในขณะเมาสุราตามกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ และ 4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายในการเพิ่มโทษของการเมาแล้วขับขี่ยานพาหนะ กรณีขับรถขณะเมาแอลกอฮอล์ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับ มาตรการการเพิ่มโทษผู้ขับขี่ยานพาหนะ กรณีขับรถขณะมึนเมาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จากผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีบทกำหนดโทษผู้ขับขี่ขับรถขณะเมาสุราค่อนข้างเบา ไม่เหมาะสมกับความผิดที่ผู้กระทำตั้งใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จึงไม่สามารถยับยั้งผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเมื่อได้มีการกระทำความผิดครั้งแรกแล้วจะมีการกระทำความผิดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งต่อๆ ไปอีก และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรือถึงแก่ความตาย และโทษที่ผู้กระทำได้รับคือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เห็นควรว่าการเพิ่มอัตราโทษทางกฎหมายให้สูงขึ้น ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อยับยั้งการกระทำความผิดซ้ำ และแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นจึงเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยปรับปรุงตามโทษปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือด และจำนวนครั้งที่กระทำความผิด และควรเพิ่มโทษแก่ผู้ร่วมโดยสาร รวมถึงผู้ให้บริการสถานบันเทิงหรือผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงกรณีขับรถขณะมึนเมาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ให้ถือว่ามีความผิดในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

Article Details

บท
Research Articles

References

ข้อมูลศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน. (2564). ผลสำรวจเมาแล้วขับบาดเจ็บ-เสียชีวิต. สืบค้นวันที่ 29 ตุลาคม 2565, จาก https://www.hfocus.org/content/

เฉลิมฤทธิ์ สามาดี. (2564). มาตรการในการบังคับใช้ทางกฎหมาย กรณีศึกษาเมาสุราแล้วขับรถบนท้องถนน เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 147-160.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). การบังคับใช้กฎหมายเมาแล้วขับ. สืบค้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก www. https://www.researchgate.net/profile/Waiphot-Kulachai/

Creatrip. (2018). กฎหมายดื่มแล้วขับของประเทศเกาหลีใต้. สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม 2564, จาก https://www.creatrip.com/th/blog/7426

Jo He-rim. (2018). Death of young soldier calls for tougher punishments for drunk driving. Retrieved 6 December 2022, from http://m.koreaherald.com/view.php?ud=201811110.

Safe kids Thailand. (2562). โครงการเด็กไทยปลอดภัย. Retrieved 1 September 2022, from http://safekidsthailand.com/wordpress.

the standard. (2019). ไต้หวันเพิ่มโทษเมาแล้วขับ ผู้โดยสารโดนด้วย เมาแล้วขี่จักรยานก็ไม่รอด. Retrieved 1 September 2022, from https://thestandard.co/passengers-to-be-penalized-over-drink-driving-in-taiwan.

Tibbetts, Stephen, &Hemmens. (2010). Criminological Theory: A Text/Reader. English: Publisher Los Angeles.