การสร้างแบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จันทร์จิรา ชัยภมรฤทธิ์
ณาตยา สิงห์สุตีน
เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต
มลฤดี แซ่ม้า

บทคัดย่อ

            การดำเนินการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาผลการใช้แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีนและครูผู้สอนภาษาจีน จำนวน 10 ท่าน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 28 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม   แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการสื่อสารภาษาจีนก่อนและหลังเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและหาคุณภาพแบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70  พบว่า แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงรายในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.86/78.21 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.53/79.67 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.66/78.98 แสดงให้เห็นว่าแบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ระดับชั้น มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้  2) ผลการใช้แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย พบว่า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 5.29 , S.D. = 0.53 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 7.82, S.D. = 0.15 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยด้วย t-test ปรากฏค่า t-test = 25.3 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 5.10 , S.D. = 0.71 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 7.97, S.D. = 0.61 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยด้วย t-test ปรากฏค่า t-test = 28.7  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 5.28 , S.D.=0.53 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 7.90,S.D. = 0.56 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยด้วย t-test ปรากฏค่า t-test = 26.2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบเรียนภาษาจีนพื้นฐานโดยอิงบริบทพื้นที่สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย สามารถส่งเสริมให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย มีทักษะการสื่อสารภาษาจีนที่สูงขึ้น มีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

ณัฐวดี สภาพรต (2553). แบบเรียนภาษาไทยเรื่องวิถีชีวิตไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ .

บุญชม ศรีสะอาด (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ฟาฏินา วงศ์เลขา (2552). อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ปัญหาที่ท้าทาย. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

http://social.ocec.go.th/node/30. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 15 มกราคม 2564).

รัตนะ บัวสนธ์ (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมพร จารุนัฏ (2544). คู่มือการเขียนบันเทิงคดีและสารคดีสำหรับเด็กหนังสือชุดความรู้ภาษาไทย.

กรมวิชาการ. กรุงเทพมหานคร. ครุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย (2559). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงราย ประจำปี

งบประมาณ พ.ศ.2560 - 2564.

หนูแพว วัชโศก (2557). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดยำรวมมิตรสะกิดเศรษฐศาสตร์ วิชา

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัย

เทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. วิทยาลัยครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.