การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับปริญญาตรี สาขานาฏศิลป์ไทยวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

รักษิต มีเหล็ก

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณทิต วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ก่อนเรียนและหลังเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณทิต วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ที่เรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เรียนที่ต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี รายวิชานาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้านสำหรับครู จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน และแบบสัมภาษณ์ทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิธีการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) แบบการวิเคราะห์สารระบบ (Taxonomy Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในภาพรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.30 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า ผู้เรียนทุกคนมีผลการวัดความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2. ผลการวัดความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในภาพรวม พบว่า มีผลการวัดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 70 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า ผู้เรียนทุกคนมีผลการวัดความคิดสร้างสรรค์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 70  3. ผู้เรียนมีทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยมองว่า การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สามารถช่วยก่อให้เกิดทักษะและแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ ในการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับประสบการณ์ใหม่ การเรียนรู้เกิดจากการลงมือปฏิบัติของผู้เรียน การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ร่วมกันภายในชั้นเรียน การสร้างแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ และการฝึกทักษะการวางแผนการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

เป็นฐาน (Project Based Learning). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://km.bus.ubu.ac.th/?p=2503. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 6 กันยายน 2565).

ณัฐริกา ก้อนเงิน (2558). ผลการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกัน

ออนไลน์ด้วยเทคนิคดอกบัวบานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนพร วิบูลย์อรรถ อาจินต์ ไพรีรณ และประสาท เนืองเฉลิม (2558) การเปรียบเทียบการคิด

แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,9,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2558).

แพง ชินพงศ์ (2565). ทำไมวิชานาฏศิลป์จึงมีความสำคัญต่อเด็กไทย. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

https://mgronline.com/qol/detail/9560000137042.

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่

พ.ศ. 2553. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L31.pdf.

ฤทธิไกร ไชยงาม และคณะ (2563). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ

PBL. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.,14,1 (มกราคม - มีนาคม 2563).

วัชรินทร์ โพธิ์เงิน พรจิตประทุมสุวรรณ และสันติ หุตะมาน (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ

โครงงานเป็นฐาน. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี)

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ศรัณยู หมื่นเดช และรุจโรจน์ แก้วอุไร (2563). การการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

โครงงานร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,22,2 (เมษายน - มิถุนายน 2563).

ศิริรัตน์ ทะนุก ตฤณ กิตติการอำพล และปริญญาทองสอน (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การสร้างหนังสือสามมิติโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน. e-Journal of Education Studies, มหาวิทยาลัยบูรพา,4,2 (เมษายน - มิถุนายน 2565).

สิทธิชัย ลายเสมา (2557). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

https://sites.google.com/site/edtechsukm/kar-cadkar-reiyn-kar-sxn-cheing-srangsrrkh/khwamkhidsrangsrrkhkabkarreiynru. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 1 กันยายน 2565).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 (2564). การจัดการเรียนรู้แบบใช้

โครงงานเป็นฐาน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/a/esdc.go.th/xb-rm-xxnlin-sphp-phechrburn-khet-3/hlaksutr-sahrab-khru-phu-sxn/kar-cadkar-reiyn-ru-dwy-rup-baeb-khorng-ngan. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 5 กันยายน 2565).

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้

แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL). ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง (สำนักงานใหญ่). นครปฐม.

อัญชลี ทองเอม (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสาร

วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),8,3 (กันยายน-ธันวาคม 2561).