แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

ธัญญาณี ดีพลงาม
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น และศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพการพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำนวน 386 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ส่วนระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผลโดยรวมอยูในระดับปานกลาง และผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่มีประสิทธิผล พบว่า ได้แนวทางการพัฒนา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มี 4 แนวทาง 2) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ มี 4 แนวทาง 3) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน มี 4 แนวทาง  4) ด้านภาวะผู้นำ มี 4 แนวทาง และ 5) ด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มี 4 แนวทางรวม 20 แนวทาง ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
Research Articles

References

นราพร จันทร์โอชา. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC).ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ

ตุลาคม 2563.แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=TBpt_PlOib4.

วราภรณ์ ธนากูลจีรวัฒน์(2560) ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (The Efficiency of Budgeting

Administration of Educational Institutions under the Jurisdiction of

Secondary Educational Service Area Office 9) วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสด

ศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา (2563). “แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ

โรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดีกรุงเทพมหานคร” บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ :

ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563) การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC

(Professional Learning Community)“ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่

สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนัก

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา