ผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

วชิรพร โชติพานัส

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทร สงคราม 2) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้สูงอายุ 300 คนในตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วทำการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 40คน เป็นผู้สูงอายุเพศชาย 21คนและผู้สูงอายุเพศหญิง 19 คน เข้าร่วมผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงครามในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า paired  t – test ผลการศึกษาพบว่าก่อนการทดลอง ความรู้ก่อนเข้าร่วมผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม  ผู้สูงอายุได้คะแนนเฉลี่ย 6.35 (X̅ = 6.35 ,S.D.= 1.14) และหลังการเข้าร่วมผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้คะแนนเฉลี่ย 7.83 (X̅ = 7.83 ,S.D.= 0.38)เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองด้านความรู้ของผู้สูงอายุแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า หลังการทดลองกลุ่มผู้สูงอายุมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นและพบว่าด้านการปฏิบัติตัวก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุ ได้คะแนนเฉลี่ย 3.91 (X̅ = 3.91 ,S.D.= 0.57) คะแนนด้านการปฏิบัติตัวของกลุ่มผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แสดงว่าหลังการทดลองผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตัวดีขึ้น สรุปผลได้ว่านั้นคือผลของโปรแกรมความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม

Article Details

บท
Research Articles

References

จันทร์จิรา วสุนทราวัฒนและคณะ. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แผนงานวิจัยผลของการสวดมนต์และแผ่เมตตาต่อการสร้างเสริมสุขภาวะในผู้สูงอายุ. คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์.

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นริศรา อารีรักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อสุขภาพ

สมรรถภาพทางการและความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยราชภัฏราชนครินทร์

ปัทมา ผาติภัทรกุล และคณะ. (2561). ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12 (ฉบับพิเศษ).

เมธี วงศ์วีระพันธุ (2559). การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชน ต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 7(1)

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. Journal of Nursing Science, 30(2).

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2555). ทรรศนะเรื่องความสุขใน ผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาบ้านวัยทอง. นิเวศน์.

มนุษยศาสตร์สาร, 13(1), 16 – 30.

Haga,H.(1999). Quality of Life and physical activity in the elderly. Health Science. (15), 59-63.